ดูแลผู้สูงอายุ ใน บางกอกน้อย, กรุงเทพมหานคร

ดูแลผู้สูงอายุ ใน บางกอกน้อย, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

วลดา ดาวเรือง
วลดา ดาวเรือง
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี

สวัสดีค่ะหนูจบผู้ช่วยพยาบาลหนูมั่นใจว่ามีจิตใจอ่อนโยนและใจเย็นมากๆค่ะเคยดูแลผู้ป่วยติดเตียงในโรงพยาบาลได้ดีมากๆค่ะและยังสามารถทำได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นทำกับข้าวขับรถหรือไปทำธุระให้ได้ค่ะ คุยกันได้ก่อนค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
สุวณิช  พงษ์ศิริเจริญ
สุวณิช พงษ์ศิริเจริญ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

หาข้อมูล เจอเว็บใส่ใจ ที่มีพี่เลี้ยงดูแลผู้สูงอายุ ลองอ่านประสบการณ์เลย เจอจิต (พี่เลี้ยงดูแลพ่อ) ทุกอย่างเป็นไปตามข้อมูลในเว็บทำให้พวกเราไม่ยากที่จะตัดสินใจ จิตทำงานดีมากเข้ากับคุณพ่อได้ดี ขอบคุณใส่ใจค่ะ
Saijai
พชร ต้นไกลสุทธฺ์
3 ปีที่แล้ว
สะดวก ง่าย เพียงไม่กี่ขั้นตอนเราก็สามารถหาคนดูแลผู้สูงอายุได้ อีกอย่างในเว็บไซต์มีข้อมูลต่าง ๆ ที่ให้เราได้ศึกษาก่อนทำการจ้างอีกด้วย พอได้อ่านข้อมูลทำให้เราได้รู้วิธีการเตรียมตัวก่อนจ้างคนดูแลมาดูแลคุณแม่ เป็นข้อแนะนำที่ดีมาก ๆเลยค่ะ ประทับใจมาก ๆ ค่ะ
Saijai
วิกานดา ทองดี
3 ปีที่แล้ว
มีคนแนะนำเวปใส่ใจสำหรับหาคนดูแลผู้สูงอายุ ประทับใจมาก ๆ เลยค่ะ พี่ที่ดูแลเขาอยู่เป็นเพื่อนแถมคุณยายอยากไปไหนเขาพาไปตลอดเลยค่ะ ตอนอยู่บ้านก็คอยจัดเตรียมอาหาร เตรียมยาให้ด้วย ต้องขอบคุณใส่ใจมาก ๆ เลยค่ะ เรากับพี่สาวรู้สึกวางใจไปได้เยอะเลย
Saijai
ปิยธิดา อรุณไชย
3 ปีที่แล้ว
มีคนแนะนำเว็บไซต์ใส่ใจมาให้ เลยลองเข้าไปดู จ้างน้องมาดูแลแม่ น้องเขาทั้งสุภาพ เรียบร้อย ทำอาหารอร่อย แถมยังเคยฝึกอบรมการปฐมบาลเบื้องต้นมาด้วย คุณแม่ก็ดูจะชื่นชอบน้องเขามาก ๆ ค่ะ เราเลยรู้สึกสบายใจไปด้วย โดยรวมแล้วถือว่าน่าพอใจมากค่ะ
Saijai
อภิสรา ประภาสกุล
3 ปีที่แล้ว
ได้คนดูแลดี ผมก็หายห่วงครับ จะใช้บริการบ่อย ๆ
Saijai
สุชาดา เอี่ยมจินดา
3 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลผู้สูงอายุ

ตัวเลือกใดที่ดีกว่าระหว่างจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่บ้านหรือให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านพักคนชรา
คาดการณ์ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ ร้อยละ 16.2 ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุที่เคยดูแลเราในวันก่อนก็เปลี่ยนบทบาทมาเป็นคนที่เราต้องดูแล วิถีชีวิตปัจจุบัน หลายครอบครัวไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ด้วยตัวเอง อะไรที่ดีกว่าระหว่างจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่บ้านหรือให้ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุดูแล

ข้อดีของการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

การที่ผู้สูงอายุได้อยู่อาศัยในบ้าน ทำให้ไม่รู้สึกแปลกสถานที่ รู้สึกว่าอยู่กับครอบครัวลูกหลาน ไม่เกิดความว้าเหว่ ผู้สูงอายุยังอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิมและไม่รู้สึกว่ามีใครหายไป การดูแลยังอยู่ในสายตาของลูกหลาน หากเกิดข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สบายใจ ผู้สูงอายุสามารถพูดขึ้นกับลูกหลานและแก้ไขปัญหาได้ในทันที

ข้อเสียของการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

คือค่าใช้จ่ายที่สูง เพราะต้องใช้ผู้ที่ผ่านการอบรมเป็นพิเศษ และอาจต้องจ้าง ตลอด 24 ชั่วโมง หรืออาจต้องใช้ 1-2 คนในการดูแล ผู้ว่าจ้างไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่านิสัยของคนที่จ้างมาเป็นอย่างไร รักการทำงานบริการผู้สูงอายุหรือไม่ หรือสามารถการปรับตัวให้เข้ากับผู้สูงอายุได้หรือไม่

ข้อดีของการใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหรือบ้านพักคนชรา

คือมีสถานที่พร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการดูแล บางแห่งมีเครื่องมือแพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพดูแล ผู้สูงอายุได้พบปะกับอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน ซึ่งจะช่วยคลายความกังวลใจของผู้สูงอายุลงไปได้บ้าง หากมีเหตุฉุกเฉิน เกิดอุบัติเหตุ ไม่สบาย ทางศูนย์ดูแลพร้อมให้ปฐมพยาบาลและนำส่งโรงพยาบาล

ข้อเสียของการใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและเราจะไม่มีทางรู้หรือเห็นเหตุการณ์อื่นใดนอกเหนือจากตอนที่ไปถึงศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งอาจปล่อยปละละเลย ผู้สูงอายุอาจไม่มีความสุขที่ต้องจากครอบครัว สุขภาพจิตอาจแย่ลง

ท้ายที่สุดแล้วความใส่ใจและความพร้อมของสมาชิกครอบครัวมีส่วนในการพิจารณาการตัดสินใจ และที่สำคัญคือตัวของผู้สูงอายุที่เราต้องดูแลว่าท่านมีความพร้อมและยินยอมเห็นสมควรกับแนวทางการเลือกดูแลของสมาชิกครอบครัว
ทักษะสำคัญที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรมี
การที่เราจะเลือกใครสักคนมาดูแลผู้สูงอายุในบ้านของเรา แน่นอนว่าต้องมีปัจจัยและคุณสมบัติหลายอย่างในการตัดสินที่จะรับบุคคลภายนอกเข้ามาอยู่ใกล้ชิดกับคนในครอบครัวของเราทั้งในช่วงเวลาที่เราอยู่หรือไม่อยู่บ้านก็ตาม คุณสมบัติที่คนส่วนใหญ่คาดหวังสำหรับคนดูแลผู้สูงอายุ มีดังต่อไปนี้

1. เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ คืออายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล มีวุฒิภาวะที่ดี
2. เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องละเอียดอ่อน คนดูแลผู้สูงอายุจึงควรเป็นคนที่มีความรู้ทั้งในเรื่องจิตวิทยา และด้านโภชนาการอาหาร รวมทั้งความสะอาดทั่วไปด้วย แม้ว่าการจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่มีความรู้อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะกว่าการจ้างคนทั่วไป แต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะหากผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ไม่ดี คนดูแลขาดความรู้แล้ว อาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจอีกด้วย
3. มีความน่าไว้วางใจ เมื่อจ้างคนดูแลผู้สูงอายุเข้ามาอยู่ในบ้าน อาจจะต้องรับรู้ในส่วนของที่เก็บของต่างๆ รู้ตารางชีวิตประจำวันของคนในครอบครัว คนดูแลผู้สูงอายุจึงต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้ มีประวัติที่ดี และมีทัศนคติที่ดี
4. มีความอดทน เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องง่ายๆ บางครั้งอาจจะต้องดูแลทั้งร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุอีกด้วย โดยเฉพาะหากเป็นผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหรือโรคประจำตัว ก็จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นไปอีก
5. ควรจบหลักสูตรผู้ช่วยการพยาบาล หรือสาขาที่เกี่ยวข้องและหากมีประสบการณ์มักจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ แต่หากไม่จบหลักสูตรดังกล่าว แต่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมาก่อน ก็จะได้รับการพิจารณาเช่นกัน
6. มีความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากในบางครั้งอาจจะต้องอยู่กับผู้สูงอายุเพียงลำพัง
7. มีความขยันและสามารถช่วยเหลืองานอย่างอื่นได้ตามความเหมาะสม
ควรทำอย่างไรเพื่อคลายความกังวลเมื่อคุณต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังกับผู้ดูแล
เมื่อเราได้พิจารณาคุณสมบัติและตัดสินใจจ้างผู้ดูแลมาดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของเราแล้ว เราอาจจะมีความกังวลด้านอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นควรจะเป็นผู้ดูแลชั่วคราวแบบไป-กลับ หรือผู้ดูแลแบบที่อยู่ด้วยกันตลอด 24 ชั่วโมง เพราะการที่ต้องให้บุคคลภายนอกซึ่งเป็นคนแปลกหน้าเข้ามาอยู่ภายในบ้านของเรา ในระยะแรกอาจจะต้องมีการปรับตัวในการอยู่ร่วมกัน หากว่าเราอยู่ที่บ้านตลอดก็อาจช่วยลดความกังวลในด้านความปลอดภัยลงไปได้ แต่ถ้าสมาชิกในบ้านต้องออกไปทำงานนอกบ้านและต้องทิ้งผู้สูงอายุไว้เพียงลำพังกับผู้ดูแล ความกังวลย่อมเพิ่มมากขึ้นทั้งกับคนที่เรารักและทรัพย์สินมีค่าภายในบ้าน แนวทางที่ช่วยลดความกังวลของผู้ว่าจ้างจากที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้แก่

1. ตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของคนดูแลผู้สูงอายุ โดยสามารถร้องขอให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุทำการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรได้ที่ http://www.criminal.police.go.th/
2. ตรวจสอบประวัติการทำงานกับนายจ้างคนเก่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุเคยผ่านประสบการณ์การทำงานมาก่อน
3. หากเป็นผู้ดูแลที่มาจากบริษัท ทางบริษัทควรจะมีการส่งตัวแทนจากบริษัทเข้ามาเยี่ยมและตรวจสอบการทำงานของผู้ดูแลเป็นระยะๆ
4. คนในครอบครัวหมั่นตรวจตราและสอดส่องการทำงานของผู้ดูแลคนสูงอายุอยู่ตลอดเวลาในระยะแรกๆของการทำงาน
5. หากมีเพื่อนบ้านที่ไว้ใจได้ สามารถฝากให้เพื่อนบ้านช่วยสอดส่องดูแลขณะที่ผู้ดูแลอยู่ลำพังกับผู้สูงอายุ
6. ปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะทำการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ตามจุดต่างๆ ภายในบ้าน เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวภายในบ้านได้ตลอด 24 ชม.
ผู้จ้างควรตกลงอะไรกับผู้ดูแลผู้สูงอายุก่อนทำการจ้าง?
ผู้ว่าจ้างควรตกลงอะไรกับผู้ดูแลผู้สูงอายุก่อนทำการจ้าง เพื่อความสะดวกและความเข้าใจตรงกันในดูแลผู้สูงอายุที่บ้านมีข้อตกลงต่าง ๆ อะไรบ้าง
จากข้อมูลสำรวจการจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ 2 รูปแบบ

รูปแบบที่ 1: ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมมาเพื่อดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ บุคคลเหล่านี้มีความเข้าใจผู้สูงอายุ และสามารถทำงานพยาบาลได้ เช่นช่วยอาบน้ำ ช่วยป้อนอาหาร ช่วยดูแลเรื่องยา ตรวจสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงดูแลสุขอนามัยของผู้สูงอายุ

รูปแบบที่ 2: แม่บ้านทั่วไป อาจมีความชำนาญเรื่องงานบ้านแต่เรื่องดูแลใส่ใจรายละเอียดอาจจะไม่เท่าผู้ที่ผ่านการอบรมมา

1. สิ่งที่ควรตกลงกันอย่างแรกคือขอบข่ายงานและวิธีการ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง เช่น งานอะไรที่ทำได้หรือทำไม่ได้
2. ชั่วโมงการทำงาน ด้วยลักษณะงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุ บางครั้งต้องมาอาศัยใกล้ชิดเพื่อดูแลผู้สูงอายุตลอดเวลา ตื่นพร้อมกันนอนพร้อมกัน หรือแค่ช่วงเวลาหนึ่งที่เราต้องการให้ผู้ดูแลเข้ามา ดูแลผู้สูงอายุ หากเกินเวลาที่ตกลงไว้จะต้องมีค่าจ้างพิเศษ หรือค่าล่วงเวลาที่ตามตกลงไว้ หากต้องการวันหยุดหรือวันลา ต้องแจ้งล่วงหน้าหรือหาคนมาทดแทนได้
3. ยุคปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าการไว้ใจใครสักคนที่เข้ามาทำงานใกล้ชิดในบ้านนั้นยากยิ่ง ทางเลือกหนึ่งผู้ดูแลผู้สาอายุ ต้องยินยอมให้ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม แม้ไม่อาจการันตีได้ร้อยเปอร์เซ็นต์แต่อย่างน้อยเป็นการคัดกรองผู้ดูแลผู้สูงอายุที่จะเข้ามาใกล้ชิดบุคคลในครอบครัวได้ ประวัติการทำงานและประสบการณ์การทำงาน การได้พูดคุย ถึงประวัติการทำงาน ทำให้เราได้รู้จักผู้ดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น อาจมีการยกตัวอย่างเหตุการณ์ เพื่อเปรียบเทียบหากเกิดขึ้นกับเราต้องทำอย่างไร เราจะได้รู้ว่าผู้ที่จะเข้ามาดูแลผู้สูงอายุของเราจะทำอย่างไรในเหตุการณ์ที่เราสมมุติขึ้น หากเคยทำที่หนึ่งได้แต่ทำกับเราไม่ได้เราได้บอกผู้สูงอายุไว้ก่อน หรือตกลงกันก่อนจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง
4. ค่าจ้าง ควรพิจารณาให้เหมาะสมและคุ้มค่าตามเนื้องานในการดูแลผู้สูงอายุในแต่ละคน

วิถีชีวิตของชาวปากคลองบางกอกน้อย

ย่านปากคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือ เป็นถิ่นฐานของคนไทยและมุสลิมแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มานานกว่า 200 ปี ต่างมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน เข้าใจกัน พึ่งพาอาศัยกันและอยู่ร่วมกันอย่างสุขสงบตลอดมาจนทุกวันนี้ ย่านปากคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือ ในที่นี้หมายถึงพื้นที่ฝั่งเหนือของคลองบางกอกน้อย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในแขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีอาณาบริเวณจากปากคลองขนานไปตามคลอง บางกอกน้อย ทิศเหนือจรดสะพานพระปิ่นเกล้าและถนนพระปิ่นเกล้า ทิศใต้จรดคลองบางกอกน้อย ทิศตะวันออกจรดแม่น้ำเจ้าพระยา และทิศตะวันตกจรดถนนจรัญสนิทวงศ์ ย่านนี้ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของชุมชนวัดดุสิดาราม ชุมชนมัสยิดอันซอริซซุนนะห์ (มัสยิดหลวงบางกอกน้อย) และชุมชนสันติชนสงเคราะห์ (การเรียกชุมชน ในที่นี้ไม่ได้คำนึงหรือเน้นพื้นที่การปกครองของกรุงเทพมหานคร แต่เป็นการกำหนดพื้นที่ทางวัฒนธรรมแต่ละแห่งไว้เพื่อสะดวกในการศึกษาต่อไป) ย่านปากคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือเคยเป็นชุมชนชาวสวนมานับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายด้วย พื้นที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางกอกน้อย อีกทั้งยังมีลำคลองแยกหลายคลองทำให้พื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะต่อการตั้งถิ่นฐานและทำการเกษตรกรรม เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 มีการย้ายราชธานีลงมาอยู่กรุงธนบุรี (พ.ศ. 2310-2325) และกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2325- ปัจจุบัน) ซึ่งเป็นบริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ใจกลางพระนครอยู่บริเวณพระราชวังเดิม (ฝั่งตะวันตก) และพระราชวังหลวง (ฝั่งตะวันออก) ไม่ไกลย่านปากคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยานัก นอกจากนี้ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาได้มีการอพยพของผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาลงมาตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นกลุ่มคนไทยรวมตัวกันอยู่บริเวณปากคลองบางกอกน้อย มีวัดเสาประโคนหรือวัดดุสิดารามเป็นศูนย์รวมจิตใจ ถัดเข้าไปจะมีชุมชนมุสลิมตั้งบ้านเรือนกลุ่มเล็กๆ บริเวณสุเหร่าหลวงบางกอกน้อย และถัดเข้าไปอีกเป็นชุมชนกลุ่มใหญ่ขึ้นคือสันติชนสงเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีคนจีนกลุ่มเล็กๆ กระจายตัวแทรกอยู่ในย่านนี้ทำมาหากินค้าขาย และอยู่ร่วมกันมาช้านาน



แนะนำผู้สูงวัยให้ใช้เทคโนโลยีให้ทันกับยุคสมัย

ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จนมีข้อกังวลว่า ผู้สูงอายุที่ตามไม่ทันจะกลายเป็นกลุ่มที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังแล้วสถานการณ์โควิด 19 อาจกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีดิจิตอลเนื่องด้วยผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ ในหลาย ๆ ประเทศได้มีการขอความร่วมมือให้ผู้สูงอายุกักตัวอยู่บ้านและงดการเข้าเยี่ยมบ้านพักคนชรา การติดต่อสื่อสารและการเรียนรู้ได้ถูกย้ายไปสู่โลกออนไลน์ ในขณะที่ผู้สูงอายุหลายคนยังรู้สึกประหม่ากับการใช้อินเทอร์เน็ต แอพพลิเคชั่น และโปรแกรมต่างๆ ดังนั้นผู้สูงอายุควรได้เรียนรู้ในด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้เท่าทันยุคสมัย โดยเคล็ดลับของการสอนสิ่งเหล่านี้ให้แก่ผู้สูงอายุ มีข้อสรุปแนวทางการสอนไว้ 8 ข้อคือ

1. อธิบายให้เห็นความสำคัญ เช่นการใช้ App สื่อสารจะช่วยให้คุณปู่คุณย่าสามารถติดต่อกับเพื่อนเก่า ๆ หรือคุยกับลูกหลานได้

2. ใช้ภาษาง่าย ๆ ในการสื่อสาร กับผู้สูงอายุหรืออาจจะใช้ศัพท์ที่ไม่ใช่คำศัพท์เชิงเทคนิคมากเกินไป

3. สอนแบบค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป อธิบายเป็นขั้นเป็นตอน หรือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย

4. จดบันทึก โดยให้ผู้สูงอายุเขียนขั้นตอนลงในบันทึกช่วยจำเมื่อไหร่ที่ลืม สามารถย้อนกลับมาดูรายละเอียดในสมุดนั้นได้

5. ความอดทน ความอดทนในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับผู้สูงอายุนั้นเป็นสิ่งสำคัญ การเรียนรู้สิ่งใหม่เป็นเรื่องที่ยากเสมอ ความอดทนจึงเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยี

6. สร้างความมั่นใจให้กับผู้สูงอายุ เช่น แสดงความยินดีเมื่อผู้สูงอายุสามารถทำสำเร็จเล็กๆน้อยๆ จะช่วยให้พวกเขามีกำลังใจในการเรียนรู้ต่อไป

7. สร้างความเคยชิน โดยแนะนำให้ผู้สูงอายุโหลดเกมปริศนาหรือเกมฝึกสมองต่างๆในโทรศัพท์เพื่อให้พวกเขารู้สึกคุ้นเคยกับการใช้ปุ่มและการทัชสกรีน

8. ให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ต โดยอาจจะแนะนำเรื่องการตั้งค่ารหัสผ่าน และกำชับว่าอย่าส่งข้อมูลส่วนบุคคลทางอีเมล์หรือช่องทางอื่น ๆ โดยเด็ดขาด



สิ่งที่ควรทำในการดูแลผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มวัยที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะผู้สูงอายุส่วนมากนอกจากจะมีความเสื่อมของร่างกายตามวัยแล้ว ยังอาจมีโรคเรื้อรังที่ต้องการดูแล เช่น

1. โรคเบาหวาน

2. โรคความดันโลหิตสูง

3. หัวใจและหลอดเลือด

4. โรคกระดูกพรุน

5. โรคมะเร็ง

การที่ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพแข็งแรงมีอายุยืนยาวอย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้น ไม่เพียงแต่การเตรียมความพร้อมหรือการปฏิบัติตัวผู้สูงอายุเองเท่านั้น ลูกหลาน ครอบครัวควรใส่ใจดูแลผู้สูงอายุด้วย ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี สมาชิกในครอบครัวอันประกอบด้วย ลูกหลาน ฯลฯ 10 ข้อควรปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้

1. ช่วยนำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า มีความสำคัญและมีความหวังในชีวิต เช่น ขอคำแนะนำต่าง ๆ ขอความช่วยเหลือจากผู้สูงอายุให้ควบคุมดูแลบ้านเรือน เป็นที่ปรึกษาอบรมเลี้ยงดูลูกหลาน

2. ควรระมัดระวังคำพูด หรือการกระทำที่แสดงออกต่อผู้สูงอายุ เน้นความสำคัญของผู้สูงอายุเป็นอันดับแรก ตัวอย่างเช่น เวลารับประทานอาหารเชิญชวนให้รับประทานอาหารก่อนและตักข้าวให้

3. ชวนผู้สูงอายุเล่าเรื่องเหตุการณ์ประทับใจในอดีตของท่านให้ฟัง และรับฟังอย่างตั้งใจ จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่า ยังมีคนชื่นชมและสนใจเรื่องราวบางส่วนของชีวิตของตนอยู่

4. อำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุปฏิบัติกิจกรรมที่น่าสนใจต่าง ๆ เช่น เมื่อผู้สูงอายุต้องการไปวัดหรือศาสนสถาน ลูกหลาน ควรจัดเตรียมข้าวของให้ และจัดการรับส่งหรือไปเป็นเพื่อน

5. เอาใจใส่ดูแลเรื่องอาหาร และการออกกำลังกายหรือทำงานตามความถนัดให้เหมาะสมกับวัย

6. ที่พักอาศัย หากผู้สูงอายุต้องการแยกบ้านอยู่ หรือต้องการไปอยู่สถานที่ที่รัฐจัดให้ก็ควรตามใจ และพาลูกหลานไปเยี่ยมเมื่อมีโอกาส ถ้าหากผู้สูงอายุรู้สึกเป็นสุขและต้องการอยู่ร่วมกับลูกหลาน ก็ให้อยู่บ้านเดียวกัน เพื่อเกิดความรู้สึกอบอุ่น

7. ช่วยให้ผู้สูงอายุมีโอกาสพบปะสังสรรค์กับญาติสนิท และเพื่อนร่วมวัยเดียวกัน โดยการพาไปเยี่ยมเยียน หรือเชิญเพื่อนฝูงญาติมิตร มาสังสรรค์ที่บ้านเป็นที่คลายเหงา พาไปสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมของผู้สูงอายุ เช่น วัด หรือชมรมผู้สูงอายุในชุมชน

8. ให้ความสำคัญเห็นคุณค่าและเคารพยกย่องนับถือ ด้วยการเชื่อฟังคำสั่งสอนและข้อแนะนำจากผู้สูงอายุ ร่วมมือกันรักษาฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมของไทย เช่น ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเนื่องในวันสงกรานต์ เป็นต้น

9. ให้อภัยในความหลงลืมและความผิดพลาดที่ผู้สูงอายุกระทำ และควรแสดงความเห็นอกเห็นใจที่เหมาะสมด้วย

10. ช่วยเหลือดูแลรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือพาไปตรวจสุขภาพให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเมื่อเจ็บป่วยหนัก เรื้อรัง