ดูแลผู้สูงอายุ ใน บางกะปิ, กรุงเทพมหานคร

ดูแลผู้สูงอายุ ใน บางกะปิ, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

วลดา ดาวเรือง
วลดา ดาวเรือง
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี

สวัสดีค่ะหนูจบผู้ช่วยพยาบาลหนูมั่นใจว่ามีจิตใจอ่อนโยนและใจเย็นมากๆค่ะเคยดูแลผู้ป่วยติดเตียงในโรงพยาบาลได้ดีมากๆค่ะและยังสามารถทำได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นทำกับข้าวขับรถหรือไปทำธุระให้ได้ค่ะ คุยกันได้ก่อนค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
สุวณิช  พงษ์ศิริเจริญ
สุวณิช พงษ์ศิริเจริญ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ประทับใจในการให้บริการมาก ๆ ค่ะ
Saijai
สุดาพร มณีทอง
3 ปีที่แล้ว
พ่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อสามเดือนก่อน ผมเลยหาคนดูแลจากเว็บไซต์ของใส่ใจ ขั้นตอนต่าง ๆ ง่ายมากครับ และทางผู้ดูแลที่ทางใส่ใจส่งมา บริการได้น่าประทับใจมากครับ นอกจากจะใส่ใจคอยดูแลคุณพ่อผมแล้วยังคอยพูดคุยรับฟังเรื่องต่าง ๆ อีกด้วย ตอนนี้ผมจ้างพี่เค้าดูแลตลอดจนกว่าพ่อจะหายเลยครับ
Saijai
อนันต์ บุญเกิด
3 ปีที่แล้ว
สะดวก ง่าย เพียงไม่กี่ขั้นตอนเราก็สามารถหาคนดูแลผู้สูงอายุได้ อีกอย่างในเว็บไซต์มีข้อมูลต่าง ๆ ที่ให้เราได้ศึกษาก่อนทำการจ้างอีกด้วย พอได้อ่านข้อมูลทำให้เราได้รู้วิธีการเตรียมตัวก่อนจ้างคนดูแลมาดูแลคุณแม่ เป็นข้อแนะนำที่ดีมาก ๆเลยค่ะ ประทับใจมาก ๆ ค่ะ
Saijai
วิกานดา ทองดี
3 ปีที่แล้ว
มีคนแนะนำเว็บไซต์ใส่ใจมาให้ เลยลองเข้าไปดู จ้างน้องมาดูแลแม่ น้องเขาทั้งสุภาพ เรียบร้อย ทำอาหารอร่อย แถมยังเคยฝึกอบรมการปฐมบาลเบื้องต้นมาด้วย คุณแม่ก็ดูจะชื่นชอบน้องเขามาก ๆ ค่ะ เราเลยรู้สึกสบายใจไปด้วย โดยรวมแล้วถือว่าน่าพอใจมากค่ะ
Saijai
อภิสรา ประภาสกุล
3 ปีที่แล้ว
ย้ายตามสามีมาอยู่กรุงเทพ แล้วยังต้องดูแลแม่สามีที่สูงอายุ และมีโรคประจำตัวด้วย ตอนแรก ๆ ลำบากมาก เพราะต้องวุ่นวายเรื่องย้ายงานและหาคนดูแลผู้สูงอายุอีก จนมาเจอเว็บไซต์ใส่ใจ โชคดีมาก ๆ เลยค่ะ นอกจากจะได้คนดูแลผู้สูงอายุที่ราคาไม่แพงมากแล้ว ยังได้คนมีประสบการณ์ ไว้ใจได้ ทำงานคล่องแถมมาช่วยทำงานบ้านอีก ตัดสินใจไม่ผิดจริง ๆ ค่ะ
Saijai
ณฐาสัณห์ ถาวร
3 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลผู้สูงอายุ

ตัวเลือกใดที่ดีกว่าระหว่างจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่บ้านหรือให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านพักคนชรา
คาดการณ์ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ ร้อยละ 16.2 ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุที่เคยดูแลเราในวันก่อนก็เปลี่ยนบทบาทมาเป็นคนที่เราต้องดูแล วิถีชีวิตปัจจุบัน หลายครอบครัวไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ด้วยตัวเอง อะไรที่ดีกว่าระหว่างจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่บ้านหรือให้ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุดูแล

ข้อดีของการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

การที่ผู้สูงอายุได้อยู่อาศัยในบ้าน ทำให้ไม่รู้สึกแปลกสถานที่ รู้สึกว่าอยู่กับครอบครัวลูกหลาน ไม่เกิดความว้าเหว่ ผู้สูงอายุยังอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิมและไม่รู้สึกว่ามีใครหายไป การดูแลยังอยู่ในสายตาของลูกหลาน หากเกิดข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สบายใจ ผู้สูงอายุสามารถพูดขึ้นกับลูกหลานและแก้ไขปัญหาได้ในทันที

ข้อเสียของการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

คือค่าใช้จ่ายที่สูง เพราะต้องใช้ผู้ที่ผ่านการอบรมเป็นพิเศษ และอาจต้องจ้าง ตลอด 24 ชั่วโมง หรืออาจต้องใช้ 1-2 คนในการดูแล ผู้ว่าจ้างไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่านิสัยของคนที่จ้างมาเป็นอย่างไร รักการทำงานบริการผู้สูงอายุหรือไม่ หรือสามารถการปรับตัวให้เข้ากับผู้สูงอายุได้หรือไม่

ข้อดีของการใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหรือบ้านพักคนชรา

คือมีสถานที่พร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการดูแล บางแห่งมีเครื่องมือแพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพดูแล ผู้สูงอายุได้พบปะกับอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน ซึ่งจะช่วยคลายความกังวลใจของผู้สูงอายุลงไปได้บ้าง หากมีเหตุฉุกเฉิน เกิดอุบัติเหตุ ไม่สบาย ทางศูนย์ดูแลพร้อมให้ปฐมพยาบาลและนำส่งโรงพยาบาล

ข้อเสียของการใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและเราจะไม่มีทางรู้หรือเห็นเหตุการณ์อื่นใดนอกเหนือจากตอนที่ไปถึงศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งอาจปล่อยปละละเลย ผู้สูงอายุอาจไม่มีความสุขที่ต้องจากครอบครัว สุขภาพจิตอาจแย่ลง

ท้ายที่สุดแล้วความใส่ใจและความพร้อมของสมาชิกครอบครัวมีส่วนในการพิจารณาการตัดสินใจ และที่สำคัญคือตัวของผู้สูงอายุที่เราต้องดูแลว่าท่านมีความพร้อมและยินยอมเห็นสมควรกับแนวทางการเลือกดูแลของสมาชิกครอบครัว
ทักษะสำคัญที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรมี
การที่เราจะเลือกใครสักคนมาดูแลผู้สูงอายุในบ้านของเรา แน่นอนว่าต้องมีปัจจัยและคุณสมบัติหลายอย่างในการตัดสินที่จะรับบุคคลภายนอกเข้ามาอยู่ใกล้ชิดกับคนในครอบครัวของเราทั้งในช่วงเวลาที่เราอยู่หรือไม่อยู่บ้านก็ตาม คุณสมบัติที่คนส่วนใหญ่คาดหวังสำหรับคนดูแลผู้สูงอายุ มีดังต่อไปนี้

1. เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ คืออายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล มีวุฒิภาวะที่ดี
2. เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องละเอียดอ่อน คนดูแลผู้สูงอายุจึงควรเป็นคนที่มีความรู้ทั้งในเรื่องจิตวิทยา และด้านโภชนาการอาหาร รวมทั้งความสะอาดทั่วไปด้วย แม้ว่าการจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่มีความรู้อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะกว่าการจ้างคนทั่วไป แต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะหากผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ไม่ดี คนดูแลขาดความรู้แล้ว อาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจอีกด้วย
3. มีความน่าไว้วางใจ เมื่อจ้างคนดูแลผู้สูงอายุเข้ามาอยู่ในบ้าน อาจจะต้องรับรู้ในส่วนของที่เก็บของต่างๆ รู้ตารางชีวิตประจำวันของคนในครอบครัว คนดูแลผู้สูงอายุจึงต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้ มีประวัติที่ดี และมีทัศนคติที่ดี
4. มีความอดทน เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องง่ายๆ บางครั้งอาจจะต้องดูแลทั้งร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุอีกด้วย โดยเฉพาะหากเป็นผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหรือโรคประจำตัว ก็จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นไปอีก
5. ควรจบหลักสูตรผู้ช่วยการพยาบาล หรือสาขาที่เกี่ยวข้องและหากมีประสบการณ์มักจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ แต่หากไม่จบหลักสูตรดังกล่าว แต่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมาก่อน ก็จะได้รับการพิจารณาเช่นกัน
6. มีความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากในบางครั้งอาจจะต้องอยู่กับผู้สูงอายุเพียงลำพัง
7. มีความขยันและสามารถช่วยเหลืองานอย่างอื่นได้ตามความเหมาะสม
หากคุณกังวลเมื่อต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุ คนชรา อยู่กับผู้ดูแลตามลำพัง ควรทำอย่างไร
หากคุณกังวลเมื่อต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุ คนชรา อยู่กับผู้ดูแลตามลำพัง ควรทำอย่างไร

การเลือกแม่บ้านหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ เข้ามาดูแลพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย วัยชรา แม้จะคล้ายกับการดูแลเด็ก แต่มีความแตกต่างกันบ้างในส่วนของรายละเอียด เช่น เรื่องอาหารการกิน การทานยา และเรื่องของการอยู่เป็นเพื่อน ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่เราเลือกใช้บริการ ผู้ดูแลผู้สูงอายุนั้น เพราะเราอยากให้ผู้สูงอายุได้อยู่ในบรรยากาศที่คุ้นเคย ใกล้ชิดลูกหลาน และได้รับการดูแลที่ถูกต้อง เหมาะสม ตามสภาพวัย ของผู้สูงอายุ หากเราต้องทำงานไปด้วยนั้นหมายถึงเราต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังกับผู้ดูแล เราสามารถลดความกังวลนั้นได้อย่างไร หากกังวลเรื่องอาหารการกิน การทานยาของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องอยู่บ้านลำพัง การที่ได้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ เข้ามาดูแลปัญหาเรื่องการทานอาหาร ทานยาไม่ตรงเวลาก็จะหมดไป เมื่อเราได้สรุปงาน หน้าที่ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ก็จะทำตามตารางเวลาการทำงานที่เราได้จัดขึ้น แม้เราไม่อยู่เราก็จะแน่ใจได้ว่าผู้สูงอายุจะได้รับการดูแล เราต้องคิดว่า เมื่อเราต่างออกไปทำงาน และผู้สูงอายุที่ต้องอยู่บ้านคนเดียว ท่านอาจจะรู้สึกเหงาและเบื่อหน่าย หรือบางครั้งเราเองอาจจะรู้สึกกังวลหากเขาหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุแล้วไม่มีใครอยู่บ้าน แต่การมีผู้ดูแลผู้สูงอายุมาดูแลและอยู่เป็นเพื่อนก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกดี หมดกังวลและไม่เบื่อหน่าย อาจมีกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้สูงอายุฝึกคิด หรือบางครั้งผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ดูแลยังสามารถพาไปออกกำลังกายเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุผ่อนคลายได้อีกด้วย กังวลเรื่องการดูแลทุก ๆ รายละเอียด ข้อนี้ถือว่าดีมากเนื่องจากพี่เลี้ยงที่จ้างมาดูแลผู้สูงอายุในบ้าน จะทำหน้าที่แทนเราทุกอย่าง เช่น เช็ดตัว ป้อนข้าว เปลี่ยนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ โดยที่ไม่รังเกียจ เพราะมีการอบรมมาเป็นอย่างดี ช่วยดูแลขณะที่เราไม่อยู่ ความกังวลทั้งหมดนี้จะหมดไปหากเราเลือกผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมมาอย่างดี ใส่ใจในงานบริการ แม้อยู่ตามลำพังกับผู้ดูแล ก็ไม่ต่างกับเราดูแลท่านเอง
สิ่งสำคัญที่คนจ้างจะต้องตกลงกับผู้ดูแลผู้สูงอายุคืออะไร
เมื่อคุณตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุไว้คอยดูแลผู้สูงอายุที่บ้านเพื่อแบ่งเบาภาระของคุณ คุณควรมีข้อตกลงที่ชัดเจนก่อนทำการจ้าง ดังต่อไปนี้

1. มีการทำสัญญาว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อความถูกต้องและความสบายใจของทั้ง 2 ฝ่าย โดยระบุข้อวันเริ่มงาน ตกลงในเรื่องของเงินเดือน ชั่วโมงการทำงาน สวัสดิการและวันหยุดที่ควรจะได้รับตามกฎหมายแรงงาน
2. ทำความเข้าใจถึงความคาดหวังที่นายจ้างต้องการจากผู้ดูแล และหน้าที่รับผิดชอบต่างๆ ว่าอาจจะต้องทำงานอื่นนอกเหนือจากการดูแลผู้สูงอายุหรือไม่ ตัวอย่างเช่น อาจจะต้องช่วยดูแลเพิ่มเติม ในเรื่องของความสะอาดต่างๆ ของเครื่องใช้ หรือความสะอาดในพื้นที่ที่ผู้สูงอายุอยู่
3. อธิบายข้อมูลส่วนตัวในเชิงลึกของผู้สูงอายุที่ต้องดูแล เช่น ลักษณะนิสัย ความชอบส่วนตัว โรคประจำตัว อาหารที่ทานได้ หรือ อาหารที่แพ้ ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนและมีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก
4. ควรใส่ใจในสุขภาพของคนที่จะมาเป็นคนดูแลผู้สูงอายุของเราด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องโรคติดต่อต่างๆ ที่อาจจะแพร่มาสู่คนชราได้ คนดูแลจึงควรมีสุขภาพแข็งแรง และควรมีผลการตรวจสุขภาพมาเพื่อยืนยันกับผู้ว่าจ้าง
5. ทำความเข้าใจว่าหากคนดูแลผู้สูงอายุป่วยไข้ ผู้ว่าจ้างจะอนุญาตให้พักงาน เพื่อลดปัญหาการแพร่เชื้อสู่ผู้สูงอาย
6. หากผู้ว่าจ้างเลือกให้คนดูแลผู้สูงอายุพักอาศัยที่บ้านด้วย ควรมีห้องพักที่แยกเป็นสัดส่วนและมีการจัดหาอาหารให้ ควรอธิบายข้อมูลให้ชัดเจนด้วยว่ามีอาหารให้กี่มื้อต่อวัน
7. คนดูแลผู้สูงอายุควรได้รับการอบรมและตรวจสอบประวัติ และลายนิ้วมือ เพื่อประสิทธิภาพของงาน และความไว้วางใจของผู้ว่าจ้าง

บางกะปิ เมืองที่กำลังโต

เมื่อนึกถึงบางกะปิ สิ่งแรกๆ ที่เราคิดถึงเลยน่าจะเป็น มหาวิทยาลัย ชื่อดังทั้งของรัฐและเอกชน (มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ) อีกทั้ง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่เป็นเหมือนศูนย์กลางความรู้ที่ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ ของเมืองไทย นอกจากนี้แล้ว เมื่อมีรายการกีฬาสำคัญ งานแสดงคอนเสิร์ต ระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ ส่วนใหญ่จะใช้ราชมังคลากีฬาสถาน และ สนามกีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นสถานที่จัดงานเหล่านี้ จากทุ่งบางกะปิ ในอดีต โดยที่มาของชื่อ "บางกะปิ" นั้น ได้มีข้อสันนิษฐานมากมาย ตั้งแต่คำว่า "กบิ" หรือ "กบี่" ที่หมายถึง ลิง เพราะพื้นที่แถบนี้ในอดีตเคยเป็นป่าทึบ และมีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (แล้วทำไมไม่เรียกบางลิงดูเหมือนจะง่ายกว่า) สัญลักษณ์ของเขตเป็นรูปหนุมานด้วย หรือมาจาก "กะปิ" ซึ่งเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพราะพื้นที่นี้แต่เดิมอุดมสมบูรณ์ด้วยกุ้งเล็ก ๆ มากมาย ประชาชนจึงนิยมนำมาทำกะปิกันมาก อันนี้น่าจะใกล้เคียงทั้งรูป รสกลิ่น น่าเป็นที่จดจำง่าย ยังมีอีกหนึ่งที่มา โดยชื่อกะปิ มาจากชื่อหมวก ‘กะปิเยาะห์’ ของชาวมุสลิม เนื่องจากพื้นที่นี้มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่มาก ซึ่งการแต่งกายของชาวมุสลิมส่วนใหญ่จะสวมหมวกคลุมหัวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘กะปิเยาะห์’ จึงน่าจะเป็นที่มาของชื่อ ‘บางกะปิ’ ได้เช่นกัน

ไม่ว่าที่มาจะเป็นอย่างไร ปัจจุบันบางกะปิกลายเป็นศูนย์กลางหนึ่งของกรุงเทพฯ จากเดิมที่เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ริมคลอง (คลองแสนแสบ) จนเมื่อเมืองขยายและการเดินทางในกรุงเทพฯ เริ่มเปลี่ยนรูปแบบเป็นการเดินทางด้วยรถยนต์เป็นหลัก มีการตัดถนนสายใหม่ ๆ ทำให้ชุมชนเติบโตเร็วและคับคั่งไปด้วยคนที่เข้ามาอาศัย รวมถึงการเข้ามาปักธงเปิดศูนย์การค้าของกลุ่มเดอะมอลล์อย่าง เดอะมอลล์ บางกะปิ บริเวณใกล้แยกแฮปปี้แลนด์ในช่วงเวลา พ.ศ.253-พ.ส.2537 เป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ย่านบางกะปิมีการเติบโตเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว พื้นที่โดยรอบศูนย์การค้าแห่งนี้มีการค้าขาย สำนักงานขนาดเล็กขยายตัวเป็นวงกว้าง และมีผลให้เกิดโครงการค้าปลีกอื่น ๆ รวมถึงการเข้ามาของรถไฟฟ้า ทำให้เกิดการลงทุนสร้างอาคารสำนักงานหรือ ห้องพัก ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในย่านบางกะปิ นอกจากพื้นที่รอบสถานีลำสาลีแล้ว สถานีหัวหมาก สถานีการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) และสถานีรามคำแหง ทั้งหมดนี้จะกำหนดทิศทางของเขต บางกะปิ เขตที่มีพื้นที่ 28.523 ตร.กม กับจำนวนประชากร กว่า 144,000 คน



กะปิ ที่พ้องกับบางกะปิ

ระหว่างคน “บางกอก” กับ คน “บ้านนอก” ที่ทุ่งบางกะปิ คงเป็นบ้านนอกในยุคหนึ่งที่ยังเป็นทุ่ง คลองแสนแสบที่เคยใช้ยกทัพไปญวนในครั้งก่อนยังคงใส เหมือนคำที่บรรยายไว้ในนิยายรัก ดำผุดดำว่ายล้อเล่น หยอกล้อกัน ก่อนความเจริญจะเข้ามา ไม่ว่าที่มาของบางกะปิจะเป็นอย่างไรหนึ่งในนั้นคือคำว่า กะปิ ที่ คนไทยส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกับ “กะปิ” อาหารหมักกลิ่นแรงที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งในอาหารไทยหลายตำรับเป็นอย่างดี กะปิ เป็นเครื่องปรุงรสอย่างหนึ่งที่แพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนใต้ของประเทศจีน สำหรับประเทศไทย กะปินั้นทำมาจากหลากหลายวัตถุดิบขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆ เช่น ทางฝั่งอันดามันจะเป็นกุ้งเคย จึงทำให้ กะปิมีมาจากหลากหลายที่มา เอาเป็นว่าสูตรใครสูตรมันขึ้นอยู่กับความชอบ โดยแต่ละท้องที่ในกะปิจะมีปริมาณของกรดอะมิโนและสารระเหยแตกต่างกันทำให้รสชาติและกลิ่นแตกต่างกัน กะปิ ชื่อนี้ใช้เรียก ในประเทศไทย ลาว กัมพูชา สันนิษฐานกันว่ากะปิไทยมาจาก คำว่า "กะปิ" ในภาษาไทยมาจากคำในภาษาพม่าว่า "ง่าปิ" แปลว่า "ปลาหมัก" กะปิ เคยเป็นเรื่องใหญ่ในสมัย รัชกาลที่ 3 ได้มีการตั้งภาษีกะปิ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ รับสั่งเจ้าพนักงานพระคลังสินค้าว่า จะเขียนตราตั้งและบัญชี อย่าให้ออกชื่อว่า “กะปิ” เป็นของหยาบคายต่ำช้า ให้ยักเขียนและกราบทูลเสียว่า “งาปิ” ตั้งแต่นั้นมา “งาปิ” เป็นภาษาราชการ ครั้นถึงสมัย ร.4 มีผู้กราบทูล ออกชื่อ “งาปิ” ยังไม่โปรด ว่าเหตุใดจึงต้องไปเปลี่ยนชื่อที่คนเรียกกันมาช้านาน พระรัตนโกษาทูลว่า ของอันนี้มีผู้ถูกดูแคลนอยู่...ถ้าไม่โปรด จะขอรับพระราชทานชื่ออื่นที่สมควร ลงในท้องตรา มีพระบรมราชโองการดำรัสว่า ถ้าจะแปลงควรแปลงให้หมด มิใช่แค่ครึ่งๆ กลางๆ จึงโปรดให้ใช้คำ “เยื่อเคย” แทน แล้วสั่งให้พระยามณเฑียรออกประกาศว่า ถ้าจะกราบทูลเรื่องกะปิ จะเรียกกะปิอย่างเดิมก็ได้ หรือถ้ารังเกียจก็ให้ใช้ว่า “เยื่อเคย” ก็ได้

กะปิ คิดขึ้นโดยชาวประมง ที่ต้องการจะดองกุ้งที่จับมาได้เพื่อเอาไว้รับประทานได้ในระยะเวลานาน ๆ หรือ อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่าเนื่องจากไม่สามารถขายกุ้งได้หมด จึงทำการดองเอาไว้ ไม่ว่าข้อสันนิษฐานจะเป็นอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงคือ กะปิเป็นตำรับอาหารของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในปัจจุบัน กะปิกลายมาเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมอาหาร และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนต่าง ๆ จากการผลิตกะปิขาย ย้อนกลับมาที่ทุ่งบางกะปิ ความเป็นจริงที่ได้ประจักษ์ว่า “ทุ่งบางกะปิ” ในอดีตได้กลับกลายมาเป็น “ย่านหัวหมาก” ในวันนี้



5 วิธีง่ายๆ ในการเตรียมลูกของคุณให้พร้อมสำหรับชั้นอนุบาล

ในวันไปโรงเรียนอนุบาลวันแรกของลูกชาย เราซ่อนตัวอยู่หลังพุ่มไม้เพื่อสอดแนมเขาในช่วงแรก เราต้องการให้แน่ใจว่าเขาพบเด็กคนอื่นๆ เล่นด้วย และเขาจะเข้าแถวกับชั้นเรียนของเขาเมื่อถึงเวลากลับเข้าไปข้างใน เรายืนอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 20 นาทีโดยแอบมองจากด้านหลังต้นไม้และพูดคุยกับพ่อแม่คนอื่นๆ ที่ทำแบบเดียวกัน

เมื่อเรายืนอยู่ที่นั่น เราถามตัวเองว่า 'เราเตรียมลูกชายให้พร้อมสำหรับชั้นอนุบาลแล้วหรือยัง' พ่อแม่คนอื่นๆ ที่อยู่กับเราต่างสงสัยและกังวลในสิ่งเดียวกัน ความพร้อมของชั้นอนุบาลเป็นหัวข้อยอดนิยมในปัจจุบัน แต่เมื่อมีคนพูดว่าลูกของคุณ "พร้อมสำหรับชั้นอนุบาล" หมายความว่าอย่างไร ความพร้อมหมายถึงอะไรแตกต่างกันไปอย่างไม่น่าเชื่อจากชุมชนสู่ชุมชน โรงเรียนถึงโรงเรียน ครูถึงครู ผู้ปกครองถึงผู้ปกครอง ประเทศสู่ประเทศ

แม้ว่าคำจำกัดความของความพร้อมในชั้นอนุบาลจะแตกต่างกันไปตามบริบท ต่อไปนี้เป็นวิธีง่ายๆ 5 วิธีในการช่วยเตรียมบุตรหลานให้พร้อมสำหรับชั้นอนุบาล:

1. พูดคุยทำความเข้าใจกับเด็ก พูดคุยกับลูกของคุณตั้งแต่เนิ่นๆ และบ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่น พูดคุยกับลูกน้อยของคุณในขณะที่คุณเปลี่ยนผ้าอ้อม อาบน้ำ ตอนที่เล่นด้วยกัน พยายามสื่อสารด้วยการพูดคุย การตอบสนองของบุตรหลานของคุณอาจเป็นคำพูดหรือไม่ใช่คำพูด แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพูดคุยกับบุตรหลานของคุณและฟังคำตอบของพวกเขาอย่างใกล้ชิด “คุณต้องใส่ใจในสิ่งที่ลูกของคุณพยายามสื่อสารกับคุณจริงๆ”

2. ให้เด็กได้มีเวลาเล่น เด็กทุกคนต้องการเวลาว่างในการเล่น การให้เวลาลูกเล่นไม่ใช่เรื่องเสียเวลา ตรงกันข้ามกับการเล่นให้ประโยชน์ด้านพัฒนาการแก่เด็กมากมาย การเล่นทางกายภาพช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว และเด็กเล็กมักฝึกเล่นโดยทำซ้ำการเคลื่อนไหวเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อฝึกทักษะดังกล่าวให้ชำนาญ การเล่นเป็นกลุ่มช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ทักษะการเข้าสังคม รวมถึงวิธีแก้ไขความขัดแย้งผ่านการเจรจาต่อรองและการประนีประนอม วิธีการโน้มน้าวใจและวิธีแสดงความปรารถนาของพวกเขา ประโยชน์ส่วนใหญ่จากการเล่นทางสังคมเกิดขึ้นเมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะจัดการกับความขัดแย้งของตนเอง โดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ให้น้อยที่สุด และแนะนำให้เลือกโรงเรียนอนุบาลที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เล่นอย่างเต็มที่

3. ให้เด็กได้มีประสบการณ์โดยไม่มีพ่อแม่อยู่ใกล้ๆ ให้บุตรหลานของคุณได้ทำกิจกรรมกับเพื่อนวัยเดียวกัน เช่น เรียนว่ายน้ำ หรือกิจกรรมฟังนิทาน โดยให้เด็กได้ใช้เวลาอยู่กับผู้ดูแล หรือครูพี่เลี้ยง และเพื่อน ให้เด็กรู้สึกสบายใจที่จะรับคำแนะนำและฟังผู้ใหญ่คนอื่นๆ

4. ส่งเสริมความเป็นอิสระและการดูแลตนเอง ในโรงเรียนอนุบาล ครูมักจะให้คำแนะนำแบบหลายส่วนซึ่งกำหนดให้เด็กต้องทำงานหลายอย่างให้เสร็จ การส่งเสริมให้บุตรหลานของคุณมีความเป็นอิสระและเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองและจัดการสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ช่วยให้พวกเขาเชี่ยวชาญในการจัดการงานหลายอย่างที่โรงเรียนด้วย

5. เรียนรู้อย่างสนุกสนานและผ่อนคลาย บุตรของท่านจำเป็นต้องรู้วิธีการอ่านเมื่อเริ่มอนุบาลหรือไม่? ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลหากเด็กจะไม่อ่านหนังสือในชั้นอนุบาล แต่เด็ก จะต้องรู้จักตัวอักษร สิ่งสำคัญคือต้องสอนตัวอักษรด้วยท่าทางที่สนุกสนาน เพื่อสนับสนุนทักษะการรู้หนังสือของบุตรหลานของคุณ แทนที่จะสอนลูกของคุณเกี่ยวกับ พยัญชนะ คุณสามารถชี้ตัวอักษรบนป้ายและในขณะที่อ่านให้ลูกของคุณฟัง กุญแจสำคัญคือการช่วยให้ลูกของคุณรู้จักตัวอักษรในบริบทของสภาพแวดล้อมของพวกเขา