วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ประเภทงานบริการ
ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย รับอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบริการในเมืองยอดนิยม
บางเขน บางกอกน้อย ป้อมปราบศัตรูพ่า พระนคร บางพลัด บางบอน พระโขนง ภาษีเจริญ คลองสามวา ตลิ่งชันชื่อเล่น เจี๊ยบอายุ ประสบการณ์ ด้าน การทำงาน และการบริบาล-ประสบการณ์ na โรงพยาบาลสุขุมวิท2ปีรับจ๊อบเฝ้าไข้ ความสามารถ ทางด้าน การบริบาล-ทำกายภาพเบื้องต้นได้ -วัดความดัน-วัดไข้ ปรอท-วัด ออกซิเจน ในเลือดได้-ฟีทซักซั่น ปากคอ- ทำแผล กดทับได้ -เช็ดตัว อาบน้ำ สระผม ตัดเล็บ บนเตียงได้ - เคลื่อนย้าย ผุ้ป่วย ได้ -ใส่เครื่อง ออกซิเจนได้ - ดูแลสายปัสสาวะได้ แต่เปลี่ยนสายไม่ได้ -สวนอุจาระได้- ทำอาหาร บด อาหาร สายยาง ได้ - สื่อสาร ภาษาอังกฤษ ฟัง พูด อ่าน เขียน ได้ระดับ พอใช้
เคยไปเฝ้าคนชราป่วยมะเร็ง ที่ รพ ศิริราชผู้ป่วยไปทำ คีโม 12 ครั้ง 6 เดือน ผู้ป่วยไปให้คีโม 2ครั้ง/1 เดือน ,เคยดูแลคนชรา ที่ลูกสาวลูกชายไปทำงานดูแลอยู่ 3 ปี,ไปเป็นเพื่อนพาคนชราไปหาหมอ ,เป็นเพื่อนอยู่ที่พักเวลาลูกหลานไปธุระ,เตรียมอาหาร,ยาตามหมอสั่ง ดิฉันเป็นคนสะอาดเรียบร้อย มีระเบียบ พูดเพราะ ใจดีใจเย็น
I am an honest woman without bad habits. I have experience in caring for post-stroke patients and patients with diabetes. You can also cook Thai and European food. If necessary, I can drive a car. (I have a driver's license) And keep the house clean at the request of the owner. Conscientious and kind attitude towards the patient is guaranteed.
แสดงผล 1 ถึง 20 จาก 39 ผลการค้นหา
1 2ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลผู้สูงอายุ
1. เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ คืออายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล มีวุฒิภาวะที่ดี
2. เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องละเอียดอ่อน คนดูแลผู้สูงอายุจึงควรเป็นคนที่มีความรู้ทั้งในเรื่องจิตวิทยา และด้านโภชนาการอาหาร รวมทั้งความสะอาดทั่วไปด้วย แม้ว่าการจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่มีความรู้อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะกว่าการจ้างคนทั่วไป แต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะหากผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ไม่ดี คนดูแลขาดความรู้แล้ว อาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจอีกด้วย
3. มีความน่าไว้วางใจ เมื่อจ้างคนดูแลผู้สูงอายุเข้ามาอยู่ในบ้าน อาจจะต้องรับรู้ในส่วนของที่เก็บของต่างๆ รู้ตารางชีวิตประจำวันของคนในครอบครัว คนดูแลผู้สูงอายุจึงต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้ มีประวัติที่ดี และมีทัศนคติที่ดี
4. มีความอดทน เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องง่ายๆ บางครั้งอาจจะต้องดูแลทั้งร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุอีกด้วย โดยเฉพาะหากเป็นผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหรือโรคประจำตัว ก็จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นไปอีก
5. ควรจบหลักสูตรผู้ช่วยการพยาบาล หรือสาขาที่เกี่ยวข้องและหากมีประสบการณ์มักจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ แต่หากไม่จบหลักสูตรดังกล่าว แต่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมาก่อน ก็จะได้รับการพิจารณาเช่นกัน
6. มีความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากในบางครั้งอาจจะต้องอยู่กับผู้สูงอายุเพียงลำพัง
7. มีความขยันและสามารถช่วยเหลืองานอย่างอื่นได้ตามความเหมาะสม
1. ตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของคนดูแลผู้สูงอายุ โดยสามารถร้องขอให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุทำการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรได้ที่ http://www.criminal.police.go.th/
2. ตรวจสอบประวัติการทำงานกับนายจ้างคนเก่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุเคยผ่านประสบการณ์การทำงานมาก่อน
3. หากเป็นผู้ดูแลที่มาจากบริษัท ทางบริษัทควรจะมีการส่งตัวแทนจากบริษัทเข้ามาเยี่ยมและตรวจสอบการทำงานของผู้ดูแลเป็นระยะๆ
4. คนในครอบครัวหมั่นตรวจตราและสอดส่องการทำงานของผู้ดูแลคนสูงอายุอยู่ตลอดเวลาในระยะแรกๆของการทำงาน
5. หากมีเพื่อนบ้านที่ไว้ใจได้ สามารถฝากให้เพื่อนบ้านช่วยสอดส่องดูแลขณะที่ผู้ดูแลอยู่ลำพังกับผู้สูงอายุ
6. ปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะทำการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ตามจุดต่างๆ ภายในบ้าน เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวภายในบ้านได้ตลอด 24 ชม.
1. ทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสิ่งที่ควรระบุอยู่ในสัญญาอย่างชัดเจนได้แก่ ระยะเวลาการดูแล วันที่เท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ ชั่วโมงการทำงาน จำนวนค่าจ้าง รวมไปถึงสวัสดิการและวันหยุดที่ผู้ดูแลควรได้รับตามกฎหมายแรงงาน โดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องเซ็นยินยอมเพื่อเป็นการรับรู้ต่อสัญญาและข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้
2. ผู้ว่าจ้างควรอธิบายข้อมูลส่วนตัวของผู้สูงอายุให้กับผู้ดูแลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุปนิสัย ความชอบส่วนตัว อาหารที่กินได้และไม่ได้ ที่สำคัญหากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว ผู้ว่าจ้างควรบอกให้ผู้ดูแลรับรู้ก่อนเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้
3. อธิบายขอบเขตและวิธีการทำงานให้กับผู้ดูแลอย่างชัดเจน สิ่งใดที่ทำได้และไม่ได้ เพื่อเป็นการป้องกันขั้นเบื้องต้น
4. ข้อตกลงเรื่องที่อยู่อาศัย หากผู้ว่าจ้างต้องการให้ผู้ดูแลอาศัยอยู่ที่บ้านตลอดช่วงระยะการดูแลผู้สูงอายุ ควรจัดเตรียมที่พักอาศัยให้กับผู้ดูแล รวมไปถึงแจกแจงเรื่องกฎในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในบ้านตลอดช่วงระยะเวลาเช่นกัน
5. ใส่ใจในเรื่องของสุขอนามัยของผู้ดูแลที่ทำการว่าจ้างมา หากผู้ดูแลมีอาการป่วยกะทันหัน ผู้ว่าจ้างควรออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งสวัสดิการที่ผู้ดูแลควรได้รับ และควรให้ผู้ดูแลลางานได้ทันที เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อผู้สูงอายุภายในบ้าน
การทำข้อตกลงในการว่าจ้างนั้นนอกจากจะเป็นการช่วยให้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนแล้ว ยังช่วยสร้างความสบายใจให้กับทั้งสองฝ่ายได้อีกด้วย
ทำความรู้จักเขตสายไหม
เขตสายไหม ตั้งอยู่ตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร ที่มีพื้นที่ติดกับถนนพหลโยธิน ลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) เขตคลองสามวา เขตบางเขน และเขตดอนเมือง และอยู่ใกล้กับพื้นที่ของหน่วยงานราชการทหารหลายแห่ง รวมถึงใกล้กับสนามบินดอนเมืองอีกด้วย ซึ่งความเจริญเติบโตของเขตสายไหม เกิดมาจากพื้นที่ใกล้เคียง ที่มีทั้งหน่วยงานราชการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นี้มายาวนาน จากเขตบางเขน และจากเขตดอนเมือง ทำให้เขตสายไหม เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่หมู่บ้านจัดสรร และชุมชนอยู่อาศัยจำนวนมาก และหากประเมินตามเขตการปกครองแล้ว เขตสายไหม เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพฯ ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 และในปี พ.ศ.2563 เขตสายไหมมีประชากรอาศัย อยู่โดยประมาณที่ 207,272 คน บนพื้นที่มากกว่า 50 ตารางกิโลเมตร
"สายไหม" เดิมเป็นชื่อของหมู่บ้านหนึ่งในตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ภายหลังในพื้นที่เขตบางเขนมีความเจริญมากขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม สาธารณูปโภค รวมทั้งมีประชากรหนาแน่นขึ้น เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางเขน แยกพื้นที่ 3 แขวงทางตอนเหนือของเขตมาจัดตั้งเป็น เขตสายไหม ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และกรุงเทพมหานครได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคลองถนนเพื่อความชัดเจนในการปกครองเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน โดยประกาศทั้งสองฉบับให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายนเป็นต้นไป ขณะที่ถนนสายไหม เป็นถนนที่เชื่อมต่อกับถนนสำคัญหลายสาย เช่น ถนนจันทรุเบกษา เชื่อมต่อกับถนนพหลโยธิน ถนนกาญจนาภิเษก ถนนหทัยราษฎร์ ถนนสุขาภิบาล ถนนสุขาภิบาล 5 (ออเงิน) ถนนเทพรักษ์ (พหลโยธิน-รัตนโกสินทร์สมโภช) ทางพิเศษฉลองรัช เชื่อมกับย่านวัชรพล และย่านรามอินทราได้ ด้วยจำนวนประชากรที่ขยายตัวต่อเนื่อง จึงดึงกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในรูปแบบดิสเคาน์สโตร์ หรือโมเดิร์นเทรนด์รายใหญ่ ๆ ทุกรายให้เข้ามาเปิดสาขาให้บริการบนย่านนี้จำนวนมาก ประกอบกับการที่ย่านนี้ใกล้กับโรงพยาบาลใหญ่หลายแห่ง (โรงพยาบาลสายไหม (Saimai Hospital) ใกล้กับสถานศึกษาจำนวนมาก และการเดินทางที่สะดวก จึงยิ่งดึงให้คนที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัยทางตอนเหนือของกรุงเทพฯเลือกพื้นที่เขตนี้
เคล็ดลับสำหรับผู้สูงอายุคลายความวิตกกังวล
ผู้สูงอายุ มีโอกาสเป็นโรควิตกกังวลได้มากกว่าภาวะซึมเศร้า แต่โรควิตกกังวลมักไม่เป็นที่รู้จักเนื่องจากคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับภาวะซึมเศร้าและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุมากกว่า ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถรับมือกับความวิตกกังวลจะมีปัญหากับชีวิตประจำวัน และมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยทางกาย หกล้ม ซึมเศร้า ความทุพพลภาพ การแยกทางสังคม และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากขึ้น
อาการวิตกกังวลเป็นอย่างไร
แม้ว่าความวิตกกังวลในช่วงสั้น ๆ เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติต่อภัยคุกคามหรืออันตราย แต่คนอาจมีปัญหาความวิตกกังวลหากรู้สึกกลัวหรือกังวลบ่อยครั้ง จนมีปัญหาการนอนหลับ และไม่กล้าทำสิ่งต่างๆ ในระหว่างวัน จนส่งผลกระทบกับสุขภาพจิต
อาการวิตกกังวลที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ ความวิตกกังวลหรือความกลัวที่ไม่มีเหตุผลและมากเกินไป ย้ำคิดย้ำทำเพื่อความปลอดภัย หลีกเลี่ยงกิจกรรมประจำ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคม หัวใจเต้นเร็ว หายใจตื้น ตัวสั่น คลื่นไส้และเหงื่อออก
โชคดีที่ความวิตกกังวลสามารถจัดการและรักษาได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
1. ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย
การฝึกโยคะ ไม่ได้เป็นแค่การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แต่เป็นการฝึกลมหายใจด้วย และการหายใจลึก ๆ สามารถช่วยบรรเทาความวิตกกังวลได้
เคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยลดความวิตกกังวลด้วยการปล่อยสารเคมีในสมองที่ให้ความรู้สึกดี ๆ ที่เรียกว่าเอ็นดอร์ฟิน
2. เข้าสังคม
ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว การอยู่กับครอบครัว และพบปะเพื่อนฝูง จะช่วยให้ผู้สูงอายุรับมือกับความเครียดและความวิตกกังวลได้ดีขึ้น
3. กินอิ่มนอนหลับ
ผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่สมดุลโดยไม่อดอาหาร และการนอนหลับให้เพียงพอจะช่วยให้ผู้สูงอายุจัดการกับความเครียด และรู้สึกสงบขึ้น
4. ฟังเพลงหรือสวดมนต์
การฟังเพลง ร้องเพลง หรือสวดมนต์ร่วมกับผู้อื่นให้ความเพลิดเพลิน สร้างสมาธิและความรู้สึกเข้าสังคม จะช่วยคลายความวิตกกังวลในผู้สูงอายุ
5. หลีกเลี่ยงคาเฟอีน
รู้หรือไม่ว่าคาเฟอีนในกาแฟ ชา น้ำอัดลม และช็อกโกแลตสามารถเพิ่มระดับความวิตกกังวลได้ ลองดื่มเครื่องดื่มอื่น เช่น ชาสมุนไพร หรือเติมผลไม้ เช่น มะนาว ส้ม หรือสตรอเบอร์รี่ลงในน้ำ
6. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
หากผู้สูงอายุได้ลองวิธีการเหล่านี้แล้ว แต่ยังไม่สามารถลดความวิตกกังวลได้ ให้พูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและการบำบัดพฤติกรรม
วิธีช่วยให้ผู้สูงอายุรับมือกับความเครียดและความโดดเดี่ยวทางสังคม
ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19อาจสร้างความเครียดให้คนทั่วไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องระวังตัวเป็นพิเศษเพราะถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะรับเชื้อได้ง่ายและมีอาการรุนแรง มีการจำกัดการเข้าเยี่ยมผู้สูงอายุในศูนย์ดูแล และมีการกักตัวในบางพื้นทที่ ความวิตกกังวลในผู้สูงอายุอาจเกิดจากสาเหตุข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น หรืออาจเกิดจากเรื่องส่วนตัว แต่ไม่ว่าความเครียดนั้นจะเกิดจากสาเหตุใด ครอบครัวและผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องความสำคัญ เปิดใจรับฟังข้อกังวลและทำให้ผู้สูงอายุรู้ว่าคุณพร้อมรับฟัง และลองปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อช่วยลดความกังวลในผู้สูงอายุ
ปรับกิจวัตรประจำวัน
ให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารเช้าให้เสร็จก่อนเปิดข่าวจะช่วยลดความวิตกกังวลในตอนเช้า หากคุณกำลังทำงานจากที่บ้านและเว้นระยะห่างทางสังคม ให้ลองดูว่าผู้สูงอายุสามารถใช้เวลากับหลาน ๆ ของพวกเขาเพื่อให้ทั้งคู่มีงานยุ่งหรือไม่ นี่เป็นวิธีที่ดีในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างรุ่น
ยอมรับความกลัวและความรู้สึกของผู้สูงอายุ
ครอบครัวหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ อาจพยายามที่จะปลอบให้ผู้สูงอายุคลายกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ แต่ก็ช่วยไม่ได้ที่ผู้สูงอายุจะยังกังวลและเครียด ดังนั้นครอบครัวและผู้ดูแลควรตั้งใจรับฟังและสนับสนุนให้พวกเขาแสดงความกลัวออกมา ทำให้ผู้สูงอายุเข้าใจว่าความรู้สึกทุกข์ใจ กังวลในช่วงวิกฤตเป็นเรื่องปกติ
ฝึกสติ
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้คุณ “ใช้ทักษะที่คุณเคยใช้ในอดีตที่ช่วยให้คุณจัดการกับความทุกข์ยากในชีวิตก่อนหน้านี้ และใช้ทักษะเหล่านั้นเพื่อช่วยคุณจัดการกับอารมณ์ในช่วงเวลาที่ท้าทายของการระบาดครั้งนี้” วิธีการเหล่านี้อาจรวมถึงการทำสมาธิ การบำบัด หรือการทำบันทึกประจำวัน สำหรับผู้สูงอายุบางคน สติสามารถมาในรูปแบบของการฟังเพลงตั้งแต่วัยเด็ก หรือแม้แต่การอาบน้ำอย่างเงียบๆ
รักษาสุขภาพให้แข็งแรงและกระฉับกระเฉง
การออกกำลังกายจะส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ
แบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากแหล่งที่เชื่อถือได้
ระวังการเข้าถึงข้อมูลเฟคนิวส์ เพราะเป็นสร้างความตระหนกและวิตกกังวลให้กับผู้สูงอายุได้ง่าย ครอบครัวและผู้ดูแลควรคัดกรองข้อมูลและแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อที่ได้เหล่านี้
ส่งเสริมกิจกรรมที่ทำให้ผู้สูงอายุนึกถึงช่วงเวลาที่มีความสุขมากขึ้น
ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรใช้เวลาร่วมกับผู้สูงอายุ พูดคุยถึงเรื่องราวความสุขในอดีต การได้นึกถึงความสุขที่ผ่านมากก็ทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกเป็นสุขได้อีกครั้ง และยังถือเป็นการกระชับสัมพันธ์กับคนรอบข้างอีกด้วย
อยู่กับสิ่งที่ทำให้มีความสุข
ครอบครัวและผู้ดูแลควรสังเกตว่าญาติผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุชอบอาหารอะไร เมนูโปรดที่ท่านชอบทำให้เรารับประทานตอนที่เราเป็นเด็กคืออะไร ท่านยังสูตรอาหารหรือมีตำราอาหารเก่าหรือไม่ เนื่องจากร้านอาหารหลายแห่งปิดตัวลง จึงเป็นเวลาที่ดีที่จะลองทำอาหารโปรดจากอดีต หลายเมนูอาจมีเรื่องราวดี ๆ ซ่อนอยู่
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง