วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ประเภทงานบริการ
ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย รับอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบริการในเมืองยอดนิยม
บางเขน บางกอกน้อย ป้อมปราบศัตรูพ่า พระนคร บางพลัด บางบอน พระโขนง ภาษีเจริญ คลองสามวา ตลิ่งชันพยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน
แสดงผล 21 ถึง 39 จาก 39 ผลการค้นหา
1 2ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลผู้สูงอายุ
1. ผู้ดูแลควรผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ที่สำคัญต้องมีประสบการณ์ทางด้านนี้โดยตรง และควรมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้สูงอายุความปลอดภัยตลอดระยะเวลาการดูแ
2. ผู้ดูแลต้องมีใจรักไม่ว่าจะเป็นงานการบริบาล และบริการ มีจิตใจชอบช่วยเหลือและปรารถนาดีต่อผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. มีความอดทนและสามารถเข้าอกเข้าใจผู้สูงอายุเป็นอย่างดีว่าต้องการอะไร เนื่องจากผู้สูงอายุหรือคนชรานั้นเป็นช่วงอายุที่ค่อนข้างมีความละเอียดอ่อนในหลาย ๆ เรื่อง ผู้ดูแลควรรู้ว่าจะต้องดูแลและบริการอย่างไรให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจ
4. มีความดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุ สามารถดูแลและช่วยเหลือเรื่องต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่นการดูแลเรื่องอาหาร สุขอนามัย และกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ ไปจนถึงการดูแลเรื่องสภาพจิตใจ ผู้ดูแลที่สามารถอยู่เป็นเพื่อนคุยและทำกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกับผู้สูงอายุได้เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว
5. สามารถสื่อสารและรายงานข้อมูลระหว่างการดูแลให้กับสมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุได้ตลอดเวลา เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับสมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุที่ได้ทำการว่าจ้างผู้ดูแลมาทำหน้าที่ในส่วนนี้
คุณสมบัติที่กล่าวมาข้างตนนั้นสามารถบ่งบอกได้ถึงความเป็นมืออาชีพของผู้ดูแลผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี หากคุณต้องการให้ผู้สูงอายุในบ้านซึ่งเปรียบเสมือนบุคคลที่คุณรักและเคารพนับถือนั้นมีความสุข โปรดอย่ามองข้ามคุณสมบัติเหล่านี้ไปก่อนเลือกใช้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านคุณ
1. ตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของคนดูแลผู้สูงอายุ โดยสามารถร้องขอให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุทำการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรได้ที่ http://www.criminal.police.go.th/
2. ตรวจสอบประวัติการทำงานกับนายจ้างคนเก่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุเคยผ่านประสบการณ์การทำงานมาก่อน
3. หากเป็นผู้ดูแลที่มาจากบริษัท ทางบริษัทควรจะมีการส่งตัวแทนจากบริษัทเข้ามาเยี่ยมและตรวจสอบการทำงานของผู้ดูแลเป็นระยะๆ
4. คนในครอบครัวหมั่นตรวจตราและสอดส่องการทำงานของผู้ดูแลคนสูงอายุอยู่ตลอดเวลาในระยะแรกๆของการทำงาน
5. หากมีเพื่อนบ้านที่ไว้ใจได้ สามารถฝากให้เพื่อนบ้านช่วยสอดส่องดูแลขณะที่ผู้ดูแลอยู่ลำพังกับผู้สูงอายุ
6. ปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะทำการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ตามจุดต่างๆ ภายในบ้าน เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวภายในบ้านได้ตลอด 24 ชม.
1. ทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสิ่งที่ควรระบุอยู่ในสัญญาอย่างชัดเจนได้แก่ ระยะเวลาการดูแล วันที่เท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ ชั่วโมงการทำงาน จำนวนค่าจ้าง รวมไปถึงสวัสดิการและวันหยุดที่ผู้ดูแลควรได้รับตามกฎหมายแรงงาน โดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องเซ็นยินยอมเพื่อเป็นการรับรู้ต่อสัญญาและข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้
2. ผู้ว่าจ้างควรอธิบายข้อมูลส่วนตัวของผู้สูงอายุให้กับผู้ดูแลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุปนิสัย ความชอบส่วนตัว อาหารที่กินได้และไม่ได้ ที่สำคัญหากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว ผู้ว่าจ้างควรบอกให้ผู้ดูแลรับรู้ก่อนเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้
3. อธิบายขอบเขตและวิธีการทำงานให้กับผู้ดูแลอย่างชัดเจน สิ่งใดที่ทำได้และไม่ได้ เพื่อเป็นการป้องกันขั้นเบื้องต้น
4. ข้อตกลงเรื่องที่อยู่อาศัย หากผู้ว่าจ้างต้องการให้ผู้ดูแลอาศัยอยู่ที่บ้านตลอดช่วงระยะการดูแลผู้สูงอายุ ควรจัดเตรียมที่พักอาศัยให้กับผู้ดูแล รวมไปถึงแจกแจงเรื่องกฎในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในบ้านตลอดช่วงระยะเวลาเช่นกัน
5. ใส่ใจในเรื่องของสุขอนามัยของผู้ดูแลที่ทำการว่าจ้างมา หากผู้ดูแลมีอาการป่วยกะทันหัน ผู้ว่าจ้างควรออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งสวัสดิการที่ผู้ดูแลควรได้รับ และควรให้ผู้ดูแลลางานได้ทันที เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อผู้สูงอายุภายในบ้าน
การทำข้อตกลงในการว่าจ้างนั้นนอกจากจะเป็นการช่วยให้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนแล้ว ยังช่วยสร้างความสบายใจให้กับทั้งสองฝ่ายได้อีกด้วย
ทำความรู้จักเขตสายไหม
เขตสายไหม ตั้งอยู่ตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร ที่มีพื้นที่ติดกับถนนพหลโยธิน ลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) เขตคลองสามวา เขตบางเขน และเขตดอนเมือง และอยู่ใกล้กับพื้นที่ของหน่วยงานราชการทหารหลายแห่ง รวมถึงใกล้กับสนามบินดอนเมืองอีกด้วย ซึ่งความเจริญเติบโตของเขตสายไหม เกิดมาจากพื้นที่ใกล้เคียง ที่มีทั้งหน่วยงานราชการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นี้มายาวนาน จากเขตบางเขน และจากเขตดอนเมือง ทำให้เขตสายไหม เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่หมู่บ้านจัดสรร และชุมชนอยู่อาศัยจำนวนมาก และหากประเมินตามเขตการปกครองแล้ว เขตสายไหม เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพฯ ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 และในปี พ.ศ.2563 เขตสายไหมมีประชากรอาศัย อยู่โดยประมาณที่ 207,272 คน บนพื้นที่มากกว่า 50 ตารางกิโลเมตร
"สายไหม" เดิมเป็นชื่อของหมู่บ้านหนึ่งในตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ภายหลังในพื้นที่เขตบางเขนมีความเจริญมากขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม สาธารณูปโภค รวมทั้งมีประชากรหนาแน่นขึ้น เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางเขน แยกพื้นที่ 3 แขวงทางตอนเหนือของเขตมาจัดตั้งเป็น เขตสายไหม ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 และกรุงเทพมหานครได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคลองถนนเพื่อความชัดเจนในการปกครองเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน โดยประกาศทั้งสองฉบับให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายนเป็นต้นไป ขณะที่ถนนสายไหม เป็นถนนที่เชื่อมต่อกับถนนสำคัญหลายสาย เช่น ถนนจันทรุเบกษา เชื่อมต่อกับถนนพหลโยธิน ถนนกาญจนาภิเษก ถนนหทัยราษฎร์ ถนนสุขาภิบาล ถนนสุขาภิบาล 5 (ออเงิน) ถนนเทพรักษ์ (พหลโยธิน-รัตนโกสินทร์สมโภช) ทางพิเศษฉลองรัช เชื่อมกับย่านวัชรพล และย่านรามอินทราได้ ด้วยจำนวนประชากรที่ขยายตัวต่อเนื่อง จึงดึงกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในรูปแบบดิสเคาน์สโตร์ หรือโมเดิร์นเทรนด์รายใหญ่ ๆ ทุกรายให้เข้ามาเปิดสาขาให้บริการบนย่านนี้จำนวนมาก ประกอบกับการที่ย่านนี้ใกล้กับโรงพยาบาลใหญ่หลายแห่ง (โรงพยาบาลสายไหม (Saimai Hospital) ใกล้กับสถานศึกษาจำนวนมาก และการเดินทางที่สะดวก จึงยิ่งดึงให้คนที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัยทางตอนเหนือของกรุงเทพฯเลือกพื้นที่เขตนี้
เคล็ดลับสำหรับผู้สูงอายุคลายความวิตกกังวล
ผู้สูงอายุ มีโอกาสเป็นโรควิตกกังวลได้มากกว่าภาวะซึมเศร้า แต่โรควิตกกังวลมักไม่เป็นที่รู้จักเนื่องจากคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับภาวะซึมเศร้าและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุมากกว่า ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถรับมือกับความวิตกกังวลจะมีปัญหากับชีวิตประจำวัน และมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยทางกาย หกล้ม ซึมเศร้า ความทุพพลภาพ การแยกทางสังคม และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากขึ้น
อาการวิตกกังวลเป็นอย่างไร
แม้ว่าความวิตกกังวลในช่วงสั้น ๆ เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติต่อภัยคุกคามหรืออันตราย แต่คนอาจมีปัญหาความวิตกกังวลหากรู้สึกกลัวหรือกังวลบ่อยครั้ง จนมีปัญหาการนอนหลับ และไม่กล้าทำสิ่งต่างๆ ในระหว่างวัน จนส่งผลกระทบกับสุขภาพจิต
อาการวิตกกังวลที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ ความวิตกกังวลหรือความกลัวที่ไม่มีเหตุผลและมากเกินไป ย้ำคิดย้ำทำเพื่อความปลอดภัย หลีกเลี่ยงกิจกรรมประจำ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคม หัวใจเต้นเร็ว หายใจตื้น ตัวสั่น คลื่นไส้และเหงื่อออก
โชคดีที่ความวิตกกังวลสามารถจัดการและรักษาได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
1. ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย
การฝึกโยคะ ไม่ได้เป็นแค่การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แต่เป็นการฝึกลมหายใจด้วย และการหายใจลึก ๆ สามารถช่วยบรรเทาความวิตกกังวลได้
เคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยลดความวิตกกังวลด้วยการปล่อยสารเคมีในสมองที่ให้ความรู้สึกดี ๆ ที่เรียกว่าเอ็นดอร์ฟิน
2. เข้าสังคม
ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว การอยู่กับครอบครัว และพบปะเพื่อนฝูง จะช่วยให้ผู้สูงอายุรับมือกับความเครียดและความวิตกกังวลได้ดีขึ้น
3. กินอิ่มนอนหลับ
ผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่สมดุลโดยไม่อดอาหาร และการนอนหลับให้เพียงพอจะช่วยให้ผู้สูงอายุจัดการกับความเครียด และรู้สึกสงบขึ้น
4. ฟังเพลงหรือสวดมนต์
การฟังเพลง ร้องเพลง หรือสวดมนต์ร่วมกับผู้อื่นให้ความเพลิดเพลิน สร้างสมาธิและความรู้สึกเข้าสังคม จะช่วยคลายความวิตกกังวลในผู้สูงอายุ
5. หลีกเลี่ยงคาเฟอีน
รู้หรือไม่ว่าคาเฟอีนในกาแฟ ชา น้ำอัดลม และช็อกโกแลตสามารถเพิ่มระดับความวิตกกังวลได้ ลองดื่มเครื่องดื่มอื่น เช่น ชาสมุนไพร หรือเติมผลไม้ เช่น มะนาว ส้ม หรือสตรอเบอร์รี่ลงในน้ำ
6. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
หากผู้สูงอายุได้ลองวิธีการเหล่านี้แล้ว แต่ยังไม่สามารถลดความวิตกกังวลได้ ให้พูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและการบำบัดพฤติกรรม
วิธีช่วยให้ผู้สูงอายุรับมือกับความเครียดและความโดดเดี่ยวทางสังคม
ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19อาจสร้างความเครียดให้คนทั่วไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องระวังตัวเป็นพิเศษเพราะถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะรับเชื้อได้ง่ายและมีอาการรุนแรง มีการจำกัดการเข้าเยี่ยมผู้สูงอายุในศูนย์ดูแล และมีการกักตัวในบางพื้นทที่ ความวิตกกังวลในผู้สูงอายุอาจเกิดจากสาเหตุข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น หรืออาจเกิดจากเรื่องส่วนตัว แต่ไม่ว่าความเครียดนั้นจะเกิดจากสาเหตุใด ครอบครัวและผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องความสำคัญ เปิดใจรับฟังข้อกังวลและทำให้ผู้สูงอายุรู้ว่าคุณพร้อมรับฟัง และลองปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อช่วยลดความกังวลในผู้สูงอายุ
ปรับกิจวัตรประจำวัน
ให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารเช้าให้เสร็จก่อนเปิดข่าวจะช่วยลดความวิตกกังวลในตอนเช้า หากคุณกำลังทำงานจากที่บ้านและเว้นระยะห่างทางสังคม ให้ลองดูว่าผู้สูงอายุสามารถใช้เวลากับหลาน ๆ ของพวกเขาเพื่อให้ทั้งคู่มีงานยุ่งหรือไม่ นี่เป็นวิธีที่ดีในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างรุ่น
ยอมรับความกลัวและความรู้สึกของผู้สูงอายุ
ครอบครัวหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ อาจพยายามที่จะปลอบให้ผู้สูงอายุคลายกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ แต่ก็ช่วยไม่ได้ที่ผู้สูงอายุจะยังกังวลและเครียด ดังนั้นครอบครัวและผู้ดูแลควรตั้งใจรับฟังและสนับสนุนให้พวกเขาแสดงความกลัวออกมา ทำให้ผู้สูงอายุเข้าใจว่าความรู้สึกทุกข์ใจ กังวลในช่วงวิกฤตเป็นเรื่องปกติ
ฝึกสติ
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้คุณ “ใช้ทักษะที่คุณเคยใช้ในอดีตที่ช่วยให้คุณจัดการกับความทุกข์ยากในชีวิตก่อนหน้านี้ และใช้ทักษะเหล่านั้นเพื่อช่วยคุณจัดการกับอารมณ์ในช่วงเวลาที่ท้าทายของการระบาดครั้งนี้” วิธีการเหล่านี้อาจรวมถึงการทำสมาธิ การบำบัด หรือการทำบันทึกประจำวัน สำหรับผู้สูงอายุบางคน สติสามารถมาในรูปแบบของการฟังเพลงตั้งแต่วัยเด็ก หรือแม้แต่การอาบน้ำอย่างเงียบๆ
รักษาสุขภาพให้แข็งแรงและกระฉับกระเฉง
การออกกำลังกายจะส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ
แบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากแหล่งที่เชื่อถือได้
ระวังการเข้าถึงข้อมูลเฟคนิวส์ เพราะเป็นสร้างความตระหนกและวิตกกังวลให้กับผู้สูงอายุได้ง่าย ครอบครัวและผู้ดูแลควรคัดกรองข้อมูลและแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อที่ได้เหล่านี้
ส่งเสริมกิจกรรมที่ทำให้ผู้สูงอายุนึกถึงช่วงเวลาที่มีความสุขมากขึ้น
ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรใช้เวลาร่วมกับผู้สูงอายุ พูดคุยถึงเรื่องราวความสุขในอดีต การได้นึกถึงความสุขที่ผ่านมากก็ทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกเป็นสุขได้อีกครั้ง และยังถือเป็นการกระชับสัมพันธ์กับคนรอบข้างอีกด้วย
อยู่กับสิ่งที่ทำให้มีความสุข
ครอบครัวและผู้ดูแลควรสังเกตว่าญาติผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุชอบอาหารอะไร เมนูโปรดที่ท่านชอบทำให้เรารับประทานตอนที่เราเป็นเด็กคืออะไร ท่านยังสูตรอาหารหรือมีตำราอาหารเก่าหรือไม่ เนื่องจากร้านอาหารหลายแห่งปิดตัวลง จึงเป็นเวลาที่ดีที่จะลองทำอาหารโปรดจากอดีต หลายเมนูอาจมีเรื่องราวดี ๆ ซ่อนอยู่
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง