ดูแลผู้สูงอายุ ใน บางกอกใหญ่, กรุงเทพมหานคร

ดูแลผู้สูงอายุ ใน บางกอกใหญ่, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

วชิราภรณ์ ขาวอุบล
วชิราภรณ์ ขาวอุบล
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

ชื่อเล่นชื่อนก อายุ 36 ปี ประวัติการทำงานเคยทำงานที่โรงพยาบาลวิชัยเวชอ้อมน้อย 10 ปีแผนกห้องผ่าตัด 4 ปี แผนก ICU 6 ปีดูแลผู้สูงอายุ 2 ปี

แสดงเพิ่มเติม
อทิตยา บางชัยภูมิ
อทิตยา บางชัยภูมิ
Saijai อายุ 47 ปี

ค่าจ้างพิจารณาตามความเหมาะสมชอบดูแลผู้สูงอายุ

แสดงเพิ่มเติม
รุ่งเพชร ก๊กรัมย์
รุ่งเพชร ก๊กรัมย์
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

พร้อมดูแล​ห่วงใย​เอาใจใส่ผู้สูงอายุ

ใจเย็น​เพียบพร้อม​สามารถทำกายภาพบำบัด​นวดแขนขา​พาเดิน​หรือทำนา​สั่งได้ทุกอย่าง

พร้อมดูแลครอบครัวท่านดุจพ่อแม่

แสดงเพิ่มเติม
อารยา หนูทอง
อารยา หนูทอง
Saijai อายุ 24 ปี

เคยดูแลคุณย่าเมื่อสองปีก่อนระหว่างการเป็นนักเรียนกับผู้ให้การดูเเล

แสดงเพิ่มเติม
นงนุช  ปั่นแก้ว
นงนุช ปั่นแก้ว
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี

เคยทำงานดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ทำทุกอย่างบนเตียง ให้อาหาร ให้ยา เข็ดตัว สวนอุจจาระ เปลี่ยนแพมเพิส ทำความสะอาดที่ดูแล ชอบเอาใจผู้ป่วยเข้าใจเอาใจใส่รักและเคารพผู้ป่วยและนายจ้างซื่อสัตย์จริงใจ แต่ไม่ชอบวุ่นวาย

แสดงเพิ่มเติม
ไวพจน์ หมู่ขำ
ไวพจน์ หมู่ขำ
Saijai อายุ 32 ปี

14,000ต่อเดือน ใจเย็นสะอาดเรียบร้อย ใส่ใจและรักในงานที่ทำ เชื่อว่าความสามารถของตัวเองจะทำให้งานที่ได้รับมอบหมายออกมาดีที่สุด

แสดงเพิ่มเติม
ปนัดดา ราชสี
ปนัดดา ราชสี
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 25 ปี

อดนอนได้ ความอดทนสูงใจรักในงานบริการ ซื้อสัตย์ รักงานชอบคุย

แสดงเพิ่มเติม
อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม
สิริมา ทวีสิทธิ์
สิริมา ทวีสิทธิ์
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
Saijai อายุ 50 ปี

มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมามากกว่า5ปี สามารถขับรถพาไปหาหมอ อยู่เป็นเพื่อน เฝ้าไข้

แสดงเพิ่มเติม
Rain Ny
Rain Ny
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

รับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ดีปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้เพราะทำงานแผนกผู้ป่วยหนักมา 10 ปีค่ะ ลักษณนิสัยพูดคุยกับผู้ด้วยโดยดูสีหน้าบุคคลิกของผู้ป่วยก่อนว่าเป็นคนแบบไหนชอบให้พูดคุยด้วยไหมให้กำลังใจผู้ป่วยในยามที่ท้อแท้สิ้นหวัง

แสดงเพิ่มเติม
นวพร   พานา
นวพร พานา
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

ประสบการณ์ 6 ปีกว่า

เป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใส ยิ้มง่ายเข้ากับคนป่วยได้ดี ไม่มีหงุดหงิดใส่คนไข้ เป็นคนใจเย็น ชวนพูดชวนคุย

แสดงเพิ่มเติม
วลดา ดาวเรือง
วลดา ดาวเรือง
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี

สวัสดีค่ะหนูจบผู้ช่วยพยาบาลหนูมั่นใจว่ามีจิตใจอ่อนโยนและใจเย็นมากๆค่ะเคยดูแลผู้ป่วยติดเตียงในโรงพยาบาลได้ดีมากๆค่ะและยังสามารถทำได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นทำกับข้าวขับรถหรือไปทำธุระให้ได้ค่ะ คุยกันได้ก่อนค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
เมธาวี ธีระธัมปิยปัญญา
เมธาวี ธีระธัมปิยปัญญา
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 40 ปี

ขยันทำงาน รับผิดชอบ มีจรรยาบรรณ ใส่ใจดูแลผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดีค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
พัชญ์ณัฐฏ์ หวยสูงเนิน
พัชญ์ณัฐฏ์ หวยสูงเนิน
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

เป็นคนรับผิดชอบงาน ไม่เทงานแม้จะยาก จริงใจ พูดตรง

แสดงเพิ่มเติม
ศิริกานต์ จาวะลา
ศิริกานต์ จาวะลา
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 28 ปี
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 41 ปี

ใจเย็น รักในการดูเอาใจใส่

แสดงเพิ่มเติม
สุวณิช  พงษ์ศิริเจริญ
สุวณิช พงษ์ศิริเจริญ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน

แสดงเพิ่มเติม
Suttinee  Munin
Suttinee Munin
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี

น.ส. ศุทธินี เหมือนอินทร์อายุ 22 ปี ศาสนา พุทธ เรียนจบ ผู้ช่วยพยาบาล pn เคยทำงาน opd ดูแลผู้สูงอายุ กุมารเวชกรรมที่อยู่ เจริญนคร 55 เขต คลองสาน กรุงเทพมหานครมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนง่าย ยิ้มแย้ม ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
กัญญาภัทร บุตรพรม
กัญญาภัทร บุตรพรม
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

ใจเย็น รักสงบ ไม่ชอบความวุ่นวาย นวดได้ ภาษาได้ อาหารได้ ขอบคุณค่ะ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

หาข้อมูล เจอเว็บใส่ใจ ที่มีพี่เลี้ยงดูแลผู้สูงอายุ ลองอ่านประสบการณ์เลย เจอจิต (พี่เลี้ยงดูแลพ่อ) ทุกอย่างเป็นไปตามข้อมูลในเว็บทำให้พวกเราไม่ยากที่จะตัดสินใจ จิตทำงานดีมากเข้ากับคุณพ่อได้ดี ขอบคุณใส่ใจค่ะ
Saijai
พชร ต้นไกลสุทธฺ์
3 ปีที่แล้ว
พ่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อสามเดือนก่อน ผมเลยหาคนดูแลจากเว็บไซต์ของใส่ใจ ขั้นตอนต่าง ๆ ง่ายมากครับ และทางผู้ดูแลที่ทางใส่ใจส่งมา บริการได้น่าประทับใจมากครับ นอกจากจะใส่ใจคอยดูแลคุณพ่อผมแล้วยังคอยพูดคุยรับฟังเรื่องต่าง ๆ อีกด้วย ตอนนี้ผมจ้างพี่เค้าดูแลตลอดจนกว่าพ่อจะหายเลยครับ
Saijai
อนันต์ บุญเกิด
3 ปีที่แล้ว
สะดวก ง่าย เพียงไม่กี่ขั้นตอนเราก็สามารถหาคนดูแลผู้สูงอายุได้ อีกอย่างในเว็บไซต์มีข้อมูลต่าง ๆ ที่ให้เราได้ศึกษาก่อนทำการจ้างอีกด้วย พอได้อ่านข้อมูลทำให้เราได้รู้วิธีการเตรียมตัวก่อนจ้างคนดูแลมาดูแลคุณแม่ เป็นข้อแนะนำที่ดีมาก ๆเลยค่ะ ประทับใจมาก ๆ ค่ะ
Saijai
วิกานดา ทองดี
3 ปีที่แล้ว
ได้คนดูแลดี ผมก็หายห่วงครับ จะใช้บริการบ่อย ๆ
Saijai
สุชาดา เอี่ยมจินดา
4 ปีที่แล้ว
ย้ายตามสามีมาอยู่กรุงเทพ แล้วยังต้องดูแลแม่สามีที่สูงอายุ และมีโรคประจำตัวด้วย ตอนแรก ๆ ลำบากมาก เพราะต้องวุ่นวายเรื่องย้ายงานและหาคนดูแลผู้สูงอายุอีก จนมาเจอเว็บไซต์ใส่ใจ โชคดีมาก ๆ เลยค่ะ นอกจากจะได้คนดูแลผู้สูงอายุที่ราคาไม่แพงมากแล้ว ยังได้คนมีประสบการณ์ ไว้ใจได้ ทำงานคล่องแถมมาช่วยทำงานบ้านอีก ตัดสินใจไม่ผิดจริง ๆ ค่ะ
Saijai
ณฐาสัณห์ ถาวร
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลผู้สูงอายุ

จ้างคนดูแลคนชราที่บ้านดีกว่าส่งไปบ้านพักคนชราอย่างไร?
ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญต่อเรา ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย คือผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเรานั่นเอง ครั้นเมื่อท่านทั้งหลายอายุมากขึ้นหน้าที่ของคนเป็นลูกเป็นหลานต้องคอยดูแลท่านให้ดีที่สุด หากเป็นไปได้คงไม่มีใครที่อยากให้ผู้สูงอายุที่เรารักต้องไปอยู่บ้านพักคนชราและอยู่ห่างไกลจากครอบครัวอย่างแน่นอน

แต่หากเราอยู่ดูแลท่านเองไม่ได้ เนื่องจากต้องทำงานหรือมีภาระอื่นๆ ที่ต้องรับผิดชอบ ควรจ้างคนมาดูแลที่บ้าน เพื่อความสะดวกของเราเองและความปลอดภัยของผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลโดยเฉพาะ อย่างที่ทราบกันมานานสังคมไทยมีแนวคิดในแบบระบบครอบครัวใหญ่ โดยจะช่วยดูแลกันและกัน ซึ่งอาจแตกต่างจากสังคมของชาวตะวันตก ที่ส่วนมากมักมีค่านิยมให้ผู้สูงอายุไปอยู่บ้านพักคนชราในช่วงบั้นปลายชีวิต เพราะคิดว่าสะดวกสบายกว่า และผู้สูงอายุจะได้มีเพื่อนในสังคมวัยเดียวกัน แต่คนไทยโดยส่วนมากไม่คิดแบบนั้น ดังนั้นในครอบครัวของคนไทยจึงต้องการคนดูแลผู้สูงอายุที่มีความรู้ ความสามารถ อีกทั้งต้องไว้ใจให้ช่วยดูแลญาติผู้ใหญ่ของเราที่บ้านได้

ข้อดีของการมีคนดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

หลักๆ ก็คือ เราสามารถอยู่ใกล้ชิดกับคนที่เรารัก ทั้งยังปลอดภัยมากกว่าเพราะยังอยู่ในสายตาของเราได้ตลอด แตกต่างกับการส่งไปอยู่ที่ศูนย์ดูแลคนชรา ซึ่งอาจจะอยู่ห่างไกล ต้องใช้เวลาเดินทางไปหา โดยเราสามารถเลือกบริการของคนที่จะมาดูแลแบบไปเช้า เย็นกลับ หรือคอยดูแล 24 ชั่วโมงสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และต้องการคนดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันไป โดยส่วนมากแล้วทางบริษัทที่จัดหาคนดูแลผู้สูงอายุจะมีการคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความรู้ในด้านนี้โดยเฉพาะ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและลดความกังวลของผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างดี
คุณสมบัติของผู้ดูแลผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง
1. สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงเลยคือ คุณสมบัติทางด้านอารมณ์ความรู้สึก (moral attitude and belief) คือความพึงพอใจ ความศรัทธา เลื่อมใสที่จะใช้จริยธรรมมาเป็นแนวปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุ
2. การฝึกอบรมเพื่อให้มีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ และมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุให้ถูกวิธี เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
3. อุปนิสัย ผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องมีใจรักในงานบริการ มีบุคลิกชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีความจริงใจ มีความรัก ความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจ ปรารถนาดีต่อผู้สูงอายุ เข้าใจและรับฟังเรื่องราวของผู้สูงอายุ เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุให้มีความสุข
4. รู้จักผิดชอบชั่วดี ต้องรู้จักแยกแยะว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำและเข้าใจในเหตุผลของความถูกต้องดีงาม (moral reasoning)
5. อายุที่เหมาะสม หลายคนอาจมองข้ามเรื่องของช่วงอายุไป แต่ต้องเข้าใจว่าช่วงอายุมีผลต่อวุฒิภาวะ ถ้าเด็กมากเกินไปก็อาจจะมีความอดทนที่ต่ำเพราะประสบการณ์การในชีวิตยังน้อย หรือถ้าอายุมากเกินไปก็ทำให้ความคล่องตัวในการดูแลผู้สูงวัยอาจจะมีน้อยลง
6. ประสบการณ์นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะบ่งบอกว่าคนคนนั้นเคยผ่านงานดูแลผู้สูงวัยมาก่อน ทำให้เข้าใจเนื้องานได้อย่างรวดเร็ว เข้าใจรายละเอียดของการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งโดยรวมแล้วผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีใจรักในงานเป็นพิเศษ ต้องใช้ความอดทนและใช้ความรู้ความสามารถที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้สามารถดูแลได้ถูกวิธีและถูกใจกันทุกฝ่ายอีกด้วย
7. เป็นผู้ประสานงานและเชื่อมโยงระหว่างบุตรหลานและญาติมิตรกับผู้สูงอายุ เมื่อได้รับความไว้วางใจให้มาดูแลผู้สูงอายุแล้ว ผู้ดูแลต้องสามารถสื่อสารส่งต่อข้อมูลที่จะช่วยให้ทำงานได้ดีและเข้าใจผู้สูงอายุมากขึ้น
ควรทำอย่างไรเพื่อคลายความกังวลเมื่อคุณต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังกับผู้ดูแล
เมื่อเราได้พิจารณาคุณสมบัติและตัดสินใจจ้างผู้ดูแลมาดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของเราแล้ว เราอาจจะมีความกังวลด้านอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นควรจะเป็นผู้ดูแลชั่วคราวแบบไป-กลับ หรือผู้ดูแลแบบที่อยู่ด้วยกันตลอด 24 ชั่วโมง เพราะการที่ต้องให้บุคคลภายนอกซึ่งเป็นคนแปลกหน้าเข้ามาอยู่ภายในบ้านของเรา ในระยะแรกอาจจะต้องมีการปรับตัวในการอยู่ร่วมกัน หากว่าเราอยู่ที่บ้านตลอดก็อาจช่วยลดความกังวลในด้านความปลอดภัยลงไปได้ แต่ถ้าสมาชิกในบ้านต้องออกไปทำงานนอกบ้านและต้องทิ้งผู้สูงอายุไว้เพียงลำพังกับผู้ดูแล ความกังวลย่อมเพิ่มมากขึ้นทั้งกับคนที่เรารักและทรัพย์สินมีค่าภายในบ้าน แนวทางที่ช่วยลดความกังวลของผู้ว่าจ้างจากที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้แก่

1. ตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของคนดูแลผู้สูงอายุ โดยสามารถร้องขอให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุทำการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรได้ที่ http://www.criminal.police.go.th/
2. ตรวจสอบประวัติการทำงานกับนายจ้างคนเก่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุเคยผ่านประสบการณ์การทำงานมาก่อน
3. หากเป็นผู้ดูแลที่มาจากบริษัท ทางบริษัทควรจะมีการส่งตัวแทนจากบริษัทเข้ามาเยี่ยมและตรวจสอบการทำงานของผู้ดูแลเป็นระยะๆ
4. คนในครอบครัวหมั่นตรวจตราและสอดส่องการทำงานของผู้ดูแลคนสูงอายุอยู่ตลอดเวลาในระยะแรกๆของการทำงาน
5. หากมีเพื่อนบ้านที่ไว้ใจได้ สามารถฝากให้เพื่อนบ้านช่วยสอดส่องดูแลขณะที่ผู้ดูแลอยู่ลำพังกับผู้สูงอายุ
6. ปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะทำการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ตามจุดต่างๆ ภายในบ้าน เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวภายในบ้านได้ตลอด 24 ชม.
ผู้จ้างควรตกลงอะไรกับผู้ดูแลผู้สูงอายุก่อนทำการจ้าง?
ผู้ว่าจ้างควรตกลงอะไรกับผู้ดูแลผู้สูงอายุก่อนทำการจ้าง เพื่อความสะดวกและความเข้าใจตรงกันในดูแลผู้สูงอายุที่บ้านมีข้อตกลงต่าง ๆ อะไรบ้าง
จากข้อมูลสำรวจการจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ 2 รูปแบบ

รูปแบบที่ 1: ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมมาเพื่อดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ บุคคลเหล่านี้มีความเข้าใจผู้สูงอายุ และสามารถทำงานพยาบาลได้ เช่นช่วยอาบน้ำ ช่วยป้อนอาหาร ช่วยดูแลเรื่องยา ตรวจสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงดูแลสุขอนามัยของผู้สูงอายุ

รูปแบบที่ 2: แม่บ้านทั่วไป อาจมีความชำนาญเรื่องงานบ้านแต่เรื่องดูแลใส่ใจรายละเอียดอาจจะไม่เท่าผู้ที่ผ่านการอบรมมา

1. สิ่งที่ควรตกลงกันอย่างแรกคือขอบข่ายงานและวิธีการ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง เช่น งานอะไรที่ทำได้หรือทำไม่ได้
2. ชั่วโมงการทำงาน ด้วยลักษณะงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุ บางครั้งต้องมาอาศัยใกล้ชิดเพื่อดูแลผู้สูงอายุตลอดเวลา ตื่นพร้อมกันนอนพร้อมกัน หรือแค่ช่วงเวลาหนึ่งที่เราต้องการให้ผู้ดูแลเข้ามา ดูแลผู้สูงอายุ หากเกินเวลาที่ตกลงไว้จะต้องมีค่าจ้างพิเศษ หรือค่าล่วงเวลาที่ตามตกลงไว้ หากต้องการวันหยุดหรือวันลา ต้องแจ้งล่วงหน้าหรือหาคนมาทดแทนได้
3. ยุคปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าการไว้ใจใครสักคนที่เข้ามาทำงานใกล้ชิดในบ้านนั้นยากยิ่ง ทางเลือกหนึ่งผู้ดูแลผู้สาอายุ ต้องยินยอมให้ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม แม้ไม่อาจการันตีได้ร้อยเปอร์เซ็นต์แต่อย่างน้อยเป็นการคัดกรองผู้ดูแลผู้สูงอายุที่จะเข้ามาใกล้ชิดบุคคลในครอบครัวได้ ประวัติการทำงานและประสบการณ์การทำงาน การได้พูดคุย ถึงประวัติการทำงาน ทำให้เราได้รู้จักผู้ดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น อาจมีการยกตัวอย่างเหตุการณ์ เพื่อเปรียบเทียบหากเกิดขึ้นกับเราต้องทำอย่างไร เราจะได้รู้ว่าผู้ที่จะเข้ามาดูแลผู้สูงอายุของเราจะทำอย่างไรในเหตุการณ์ที่เราสมมุติขึ้น หากเคยทำที่หนึ่งได้แต่ทำกับเราไม่ได้เราได้บอกผู้สูงอายุไว้ก่อน หรือตกลงกันก่อนจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง
4. ค่าจ้าง ควรพิจารณาให้เหมาะสมและคุ้มค่าตามเนื้องานในการดูแลผู้สูงอายุในแต่ละคน

ข้อมูลทั่วไปเขตบางกอกใหญ่

เขตบางกอกใหญ่ นี้ตั้งชื่อตามคลองบางกอกใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างว่า คลองบางหลวง ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งมีการขุดคลอง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2065 ทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนแปลงจนทำให้คลองกลายเป็นแม่น้ำสายหลักและส่วนของแม่น้ำเดิม กลายเป็นคลองบางกอกใหญ่ ในปัจจุบัน บางกอกใหญ่หรือที่เรียกกันว่าตำบลวัดอรุณเป็นที่ตั้งของธนบุรีเมื่อเมืองหลวงตั้งขึ้นที่นี่ระหว่างปี พ.ศ. 2310-2525 เดิมเรียกว่าอำเภอหงสาราม เมื่อตั้งอำเภอขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอบางกอกใหญ่" ในปี พ.ศ. 2459 เลื่อนยศเป็นกิ่งอำเภอบางยี่ขัน (อำเภอบางยี่ขัน) ในปี พ.ศ. 2481 ได้เลื่อนยศกลับเป็น อำเภอใน พ.ศ. 2501 และในที่สุดก็เปลี่ยนเป็นเขตในการปฏิรูปการบริหารเมื่อปี พ.ศ. 2515 มีคลองบางกอกใหญ่ เป็นคลองที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เชื่อมต่อกับแม่น้้าเจ้าพระยา เริ่มตั้งแต่ปากคลองบางกอกใหญ่จากแม่น้้าเจ้าพระยาฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์แบ่งเขตบางกอกใหญ่กับ เขตธนบุรี ถึงคลองมอญ ที่ใช้แบ่งเขตบางกอกใหญ่กับเขตภาษีเจริญ รวมความยาวทั้งสิ้น 6,200 เมตร มีความกว้าง 8 – 40 เมตร ก่อนที่บริเวณริมคลองมีบ้านเรือนสร้างขึ้นเป็นชุมชนอย่างหนาแน่นอย่างในปัจจุบัน ในอดีตเป็นเส้นทางสัญจรหลักเพื่อการค้าขาย ต่อมามีผู้คนจากต่างที่หลากหลาย เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมเข้ามาตั้งถิ่นฐานและสร้างบ้านเรือนในพื้นที่ริมคลองเป็นจำนวนมากทำให้เกิด วิถีชีวิตที่หลากหลายจนกลายเป็นชุมชนที่มีรูปแบบพหุวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ชีวิตดั้งเดิมของคนริมคลองบางกอกใหญ่เป็นหลัก ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองไม่ได้ใช้ในการสัญจรไปมาในชีวิตประจำวันมานานแล้ว บริเวณโดยรอบคลองบางกอกใหญ่มีเส้นทางคมนาคมสายหลัก หลายเส้นทางที่ตัดผ่านคลองและพื้นที่รอบๆ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมทางถนน เช่น ถนนเพชรเกษม ถนน รัชดาภิเษก ถนนราชพฤกษ์ ถนนอิสรภาพ และถนนอรุณอมรินทร์ หรือการคมนาคมระบบราง เช่น รถไฟ และ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ยศเส – บางหว้า วันนี้หากเราต้องการเห็นวิถีชีวิตเหมือนเมื่อวันวาน เราสามารถไปชมได้ที่ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางกอกใหญ่

ชื่อเขตบางกอกใหญ่มีที่มาจากคลองบางกอกใหญ่หรืออาจคุ้นเคยมากกว่าชื่อ “คลองบางหลวง” พบกับวิถีชุมชน และผู้คนชาวบางกอกใหญ่ เดิมเป็นพื้นที่สวนเขตใกล้คียง แต่มีผลไม้ขึ้นชื่อที่แตกต่างได้แก่ ส้มโอ ส้มเกลี้ยง ลำไยเพกา มีเรื่องราวของแขกจามเปอร์เซียที่เข้ามาอาศัยตั้งแต่สมัยอยุธยา และประเพณีต่างๆ ของแขกจาม รวมทั้งพิธีการต่างๆ ที่สำคัญๆ ของชนชาวบางกอกใหญ่ และเรื่องราวที่จัดนิทรรศการ บอกเล่าความเป็นมา



“ช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต”

การดูแลคนที่คุณรักในช่วงสุดท้ายของชีวิตไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าคุณจะแบกรับความรับผิดชอบทั้งหมดหรือเพียงแค่ต้องการอยู่เคียงข้างพวกเขา คุณอาจสงสัยว่า “ช่วงวาระสุดท้ายก่อนตาย” ที่ต้องอาศัย “การดูแลแบบประคับประคอง” เป็นช่วงสำคัญที่ผู้ป่วย ญาติ และแพทย์ ต้องตัดสินใจร่วมกันว่าจะยื้อหรือยุติการดูแลรักษา จากผลสำรวจเรื่องการรับรู้และทัศนคติของประชาชนต่อการดูแลแบบประคับประคองในประเทศไทย ของทีดีอาร์ไอ พบว่า คนส่วนใหญ่ไม่เคยนึกถึงและหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงความตาย แต่จะเริ่มนึกถึงความตายเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุหรือเริ่มมีปัญหาสุขภาพ

อายุขัยของแต่ละคนแตกต่างกัน จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่มีใครคาดเดาได้เวลาวาระสุดท้ายของชีวิตจะมาถึงเมื่อใหร่ แต่สำหรับคนที่ชีวิตดำเนินมาถึงช่วงสุดท้ายและเสียชีวิตด้วยโรคชรา อาจจะมีสัญญานบ่งบอกที่คนรอบข้างสังเกตได้ดังนี้

สัญญาณแรกสุด คือผู้ป่วยมีความรู้สึกหมดอาลัยตายอยาก ไม่กำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป

ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการรำลึกถึงวัยเด็กและประสบการณ์ชีวิตก่อนหน้านี้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลียทั่วไป และเมื่อยล้าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

วันก่อนสิ้นชีวิต ผู้ป่วยมักจะนอนหลับมากกว่าตื่น พวกเขาจะเคลื่อนไหวและพูดคุยน้อยลงและอาจไม่ตอบสนองต่อการสนทนา ความรู้สึกในการได้ยินของพวกเขามักจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่การมองเห็นอาจบกพร่อง

สัญญาณอื่น ๆ ในวันวาระสุดท้ายของชีวิต อาจรวมถึง ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิร่างกายลดลง หายใจลำบาก กลืนลำบาก ปฏิเสธอาหาร ไม่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้หรือปัสสาวะอีกต่อไป เห็นภาพหลอน ภาพลวงตา หรือภาพลวงตา บางคนประสบกับอาการกระสับกระส่ายหรือหมดเรี่ยวแรง

ชั่วโมงก่อนสิ้นชีวิต ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เริ่มหยุดทำงาน คือ การหายใจผิดปกติและช่องว่างระหว่างลมหายใจยาวขึ้น (การหายใจแบบ Cheyne-Stokes)

หายใจมีเสียงดัง ตาเหลือก แขนขาเย็น ผิวสีม่วง เทา ซีด หรือมีรอยด่างบนหัวเข่า เท้า และมือ ชีพจรอ่อน และหมดสติไปในที่สุด แต่ในขณะที่หมดสติยังอาจจะได้ยินอยู่

ตอนตาย ในขณะที่เสียชีวิต การหายใจจะหยุดลงและไม่มีชีพจรหรือความดันโลหิตที่วัดได้ หากตายังเปิดอยู่ รูม่านตาจะขยายออก เมื่อกล้ามเนื้อของร่างกายผ่อนคลาย ลำไส้และกระเพาะปัสสาวะก็จะว่างเปล่า เมื่อเลือดจับตัว ผิวจะเริ่มซีดและเป็นขี้ผึ้ง หลังความตาย คุณอาจยังเห็นน้ำตาไหลออกจากตาหรือเคลื่อนไหวแขน ขา หรือกล่องเสียงเล็กน้อย

ดังนั้น แม้เราปฏิเสธความตายไม่ได้ แต่การเตรียมตัว การปรับทัศนคติและตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมการก่อนตายจึงเป็นเรื่องที่ไม่ว่าอายุเท่าไหร่ ก็ควรทำความเข้าใจและเตรียมไว้ล่วงหน้า



เตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

ภายในปี พ.ศ. 2575 ประชากรส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ และในขณะที่คนกลุ่มนี้เตรียมตัวสำหรับการเกษียณอายุและการใช้ชีวิตในบั้นปลาย เราควรเตรียมความพร้อมให้กันประชากรกลุ่มนี้เพื่อรับมือกัยความเปลี่ยนแปลงมากมายที่ต้องเผชิญ ผู้สูงอายุอาจมีช่วงเวลาที่ยากลำบากกว่าในการเตรียมตัวหรือตอบสนองในกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยอยู่ตามลำพัง มีการเคลื่อนไหวที่จำกัด หรือต้องพึ่งพาผู้ดูแล หากคุณหรือคนที่คุณรักเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น เรามีเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณพร้อมสำหรับเหตุการณ์เหล่านี้

มีเครือข่ายสนับสนุนสร้างเครือข่ายสนับสนุน

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่คนเดียว และเกือบครึ่งจะเป็นผู้หญิง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่คนเดียว จะต้องมีเครือข่ายสนับสนุนที่พวกเขาสามารถพึ่งพาได้ในกรณีฉุกเฉิน เครือข่ายสนับสนุนของคุณควรประกอบด้วยเพื่อนสนิท สมาชิกในครอบครัว ผู้ดูแลหรือเพื่อนบ้าน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือและ วางแผนร่วมกับผู้คนในเครือข่ายของคุณและแจ้งให้พวกเขาทราบข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับความต้องการทางการแพทย์และแจ้งให้พวกเขาทราบว่าคุณเก็บอุปกรณ์ฉุกเฉินและยารักษาโรคไว้ที่

ชุดฉุกเฉิน เครื่องมือหากเกิดสภาวะฉุกเฉิน

เมื่อทำชุดอุปกรณ์ฉุกเฉิน ให้รวมยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ และคำแนะนำเกี่ยวกับความช่วยเหลือพิเศษที่คุณต้องการ เก็บรายชื่อแพทย์และหมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ เอกสารทางการแพทย์ ยา ใบสั่งยา และคำแนะนำไว้ในภาชนะกันน้ำเพื่อป้องกันความเสียหายและเข้าถึงได้ง่าย ในการพิจารณาว่ายาและเวชภัณฑ์ใดที่จะรวมไว้ในชุดอุปกรณ์ของคุณ ให้นึกถึงสิ่งที่คุณต้องการในช่วงหนึ่งสัปดาห์หากคุณต้องอพยพหรือพักพิงในสถานที่ชั่วคราว พิจารณาความต้องการส่วนบุคคล เช่น แว่นสายตา เครื่องช่วยฟัง รถเข็นคนพิการ แบตเตอรี่ และออกซิเจน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินของคุณมีสิ่งของที่จำเป็นทั้งหมดที่คุณต้องการนอกเหนือจากพื้นฐาน น้ำ อาหาร ไฟฉาย และชุดปฐมพยาบาล

อัพเดทเอกสารสำคัญ

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าในกรณีฉุกเฉิน คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลล่าสุดได้ ใช้เวลาในการปรับปรุงเอกสารสำคัญรวมถึงเวชระเบียน พินัยกรรม โฉนด ข้อมูลทางการเงิน และบัตรประกัน นอกจากนี้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้อัปเดตรายชื่อแพทย์และหมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงยาและขนาดยาในชุดฉุกเฉินของคุณ การมีข้อมูลทางการแพทย์และการเงินของคุณเป็นปัจจุบันและอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัยสามารถช่วยในระหว่างและหลังเหตุฉุกเฉินเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้รับความช่วยเหลือที่คุณต้องการ